บทที่ ๑ กลลวง
ซุนจื่อกล่าวว่า
การสงครามคือเรื่องใหญ่ของประเทศชาติ เกี่ยวพันถึงความเป็นความตายของประเทศ จึงมิอาจไม่ทำการศึกษาอย่างละเอียด
ดังนั้น การพิเคราะห์ที่มาแห่งผลแพ้ชนะประกอบด้วย 5 ประการ 1. เหตุผล 2. สภาพอากาศ 3. พื้นที่ 4. ขุนพล 5. กฎหมาย
1. เหตุผล คือ การทำให้ความต้องการของราชาและประชาเป็นหนึ่งเดียว เช่นนี้ประชาจึงจะยินยอมทุ่มเทแรงกายและแรงใจถวายชีวิตเพื่อราชาในการสงครามได้
2. สภาพอากาศ คือ กลางวันและกลางคืน ฝนตกและฟ้าแจ้ง หนาวยะเยือก ร้อนระอุ สี่ฤดูหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยน
3. พื้นที่ คือ ระยะทางใกล้ไกล ชัยภูมิอันตรายหรือราบเรียบ ชัยภูมิเป็นที่แคบหรือที่กว้าง สภาพพื้นที่ง่ายต่อการรุกรับ บุกและถอยหรือไม่
4. ขุนพล คือ พรสวรรค์ในการวางแผนการรบและการรบของขุนพล บำเหน็จและลงโทษอย่างมีเหตุผลชัดเจนเสมอภาค รักใคร่เมตตาต่อพลทหารในบังคับบัญชา มีความกล้าหาญและเด็ดขาด รักษาระเบียบวินัยในกองทัพอย่างเข้มงวด
5. กฎหมาย หมายถึง การกำหนดระบบการจัดระเบียบทัพ การปกครองทหารในกองทัพและการแบ่งหน้าที่ การแบ่งปันเสบียงอาหารและการบริหารเสบียงกรัง
5 ข้อข้างต้นที่กล่าวมานี้ ไม่มีขุนพลคนใดไม่ทราบ แต่มีเพียงทำความเข้าใจกับมันอย่างลึกซึ้งและควบคุมมันได้เป็นอย่างดีเท่านั้นจึงจะสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ในการนำชัยได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัย 7 ข้อดังนั้นมาเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในการชนะสงคราม
1. ราชาแห่งแคว้นใดมีปรีชาสามารถกว่ากัน?
2. แม่ทัพแคว้นใดเปรื่องปราดสามารถกว่ากัน?
3. ทัพแคว้นใดยึดชัยภูมิที่มีเปรียบในช่วงเวลาที่มีเปรียบกว่ากัน?
4. กฎระเบียบในกองทัพของแคว้นใดเป็นไปอย่างเข้มงวดทั่วถึงและมีประสิทธิภาพกว่ากัน?
5. กำลังพลของแคว้นใดเหนือกว่ากัน?
6. ทหารของทัพใดฝึกฝนมามากกว่ากัน?
7. ฝ่ายใดมีการปูนบำเหน็จและลงโทษอย่างชัดเจนยุติธรรมกว่ากัน?
การทหารเปี่ยมอุบาย ดังนั้น
จะจู่โจมแสร้งทำเป็นจะไม่จู่โจม หรือไม่อาจจู่โจม
จะตีที่ใกล้แต่แสร้งทำเป็นจะตีที่ไกล
สำหรับศัตรูที่โลภ ให้ใช้ผลประโยชน์เล็กน้อยเข้าล่อ
กับศัตรูที่กำลังสับสนรวนเร ควรฉวยโอกาสจู่โจม
กับศัตรูเข้มแข็งพอตัว ควรเพิ่มการป้องกันเป็นเท่าตัว
กับศัตรูที่แข็งแกร่งมาก ควรหลบเลี่ยงการปะทะไปก่อน
กับศัตรูที่ขี้โมโห ให้ยั่วให้เขาโกรธเพื่อที่เขาจะได้ประมาท
กับศัตรูที่ดูถูกเรา ให้หลอกตบตาให้มันยิ่งตายใจดูถูกเรายิ่งขึ้น
กับศัตรูที่มีการเตรียมพร้อม ให้ตอดเล็กตอดน้อยให้เขาล้ากับการรับมือเรา
กับศัตรูที่ภายในมีการปรองดองกันดี ต้องพยายามยุแหย่ให้แตกกัน
ต้องจู่โจมยามข้าศึกไม่ทันระวังตั้งตัว
ต้องเคลื่อนไหวโดยศัตรูมิอาจหยั่งคาด
บทที่ ๒ การทำสงคราม
อันการยกทัพออกรบ สร้างรถศึก 1,000 คัน รถเสบียง 1,000 คัน ทหารหนึ่งแสน ยังต้องบรรทุกเสบียงไปพันลี้ เช่นนี้ ค่าใช้จ่ายของแนวหน้าและแนวหลัง ค่าใช้จ่ายของราชทูตที่ต้องเดินทางไปมา อุปกรณ์การรบและอื่นๆ รวมถึงอาวุธชุดเกราะสำรองสำหรับกองทัพ แต่ละวันต้องจ่ายพันตำลึงทอง กองทหารขนาดหนึ่งแสนนายจึงจะสามารถเคลื่อนทัพได้
ผู้ซึ่งยกทัพขนาดมหาศาลเช่นนี้แล้วหวังจะกำชัยชนะโดยเร็ว การเดินทัพออกรบเป็นเวลานานจะทำให้ทหารอ่อนเพลียเหนื่อยล้า กำลังใจรบถดถอย การจะตีเมืองก็จะต้องเสียเวลาและพลกำลังเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
การให้ทหารออกไปรบเป็นเวลานานจะทำให้การเงินของประเทศติดขัด ทหารอ่อนพลีย กำลังใจรบถดถอย สูญเสียสมรรถภาพกองทัพ เศรษฐกิจทรุดหนัก เมื่อนั้น แคว้นอื่นก็จะฉวยโอกาสพิชิตเราได้ หากเป็นเช่นนั้น แม้จะมีผู้นำทัพที่เก่งกาจก็ไม่อาจช่วย***้สถานการณ์ได้
ดังนั้น ผู้ซึ่งไม่รู้ข้อเสียของการยกทัพจับศึก ย่อมไม่มีทางทราบข้อดีของการรบ
ผู้เชี่ยวชาญการศึก จะไม่เกณฑ์ทหารหลายครั้ง และไม่ขนเสบียงทัพไปมากเกินจำเป็น อาวุธทั้งมวลได้จากในประเทศ ส่วนเสบียงหาเอาจากแดนศัตรู เช่นนี้ก็จะสามารถตัดปัญหาเรื่องเสบียงไปได้
สาเหตุสำคัญที่ประเทศยากจนเพราะการสงครามคือการยกทัพไปรบยังแดนไกลและขนส่งทางไกลเป็นสาเหตุสำคัญ การขนส่งทางไกลจะทำให้ชาวบ้านยากจน ที่ซึ่งอยู่ใกล้เขตตั้งทัพข้าวของจะมีราคาสูงลิบ ข้าวของแพงลิบทำให้ประชาชนยากจน
เมื่อท้องพระคลังว่างเปล่าเพราะทำสงครามประเทศก็ต้องเร่งเพิ่มภาษีเป็นการด่วน
สมรรถภาพกองทัพเสื่อมสูญ ทรัพย์สินแห้งเหือด ชาวประชาต่างยากจนกันถ้วนหน้า สูญทรัพย์ไปกว่าเจ็ดส่วน ท้องพระคลังเอง เนื่องจากรถศึกชำรุดเสียหาย ม้าศึกอ่อนเปลี้ยล้มป่วย อาวุธยุทโธปกรณ์ชำรุดเสียหาย รถบรรทุกเสบียงชำรุดผุพัง สูญเสียไปหกส่วน
ดังนั้นแม่ทัพที่ชาญฉลาดจะหาทางแก้ปัญหาเรื่องเสบียงในดินแดนของศัตรู เสบียงที่หาได้ในแดนศัตรูหนึ่งส่วนมีค่าเท่ากับเสบียงที่ขนส่งจากแดนของตนยี่สิบส่วน
ดังนั้น หากต้องการให้ทหารห้าวหาญในการรบกับศัตรู ก็ต้องกระตุ้นให้พวกเขาโกรธแค้นศัตรู หากต้องการแย่งชิงสมบัติของศัตรู ก็ต้องใช้สมบัตินั้นล่อใจทหาร ดังนั้นหากชิงรถศึกมาได้สิบคันขึ้นไป จะต้องปูนบำเหน็จแก่ทหารที่เป็นผู้ชิงรถศึกนั้นมาได้เป็นคนแรก จากนั้นเปลี่ยนธงรบแล้วนำมาปะปนเป็นรถศึกของฝ่ายตน กับเชลยศึกที่จับตัวมาได้ต้องปฏิบัติด้วยอย่างดี นี่คือสิ่งที่เรียกว่า
สยบศัตรูพร้อมกับทำให้ฝ่ายตนแข็งแกร่งขึ้น
ดังนั้นหากอยากชนะศึกโดยเร็ว ไม่ควรคิดถ่วงเวลาในการทำศึกให้ยืดเยื้อออกไป
บทที่ ๓ วางแผนจู่โจม
หลักการใช้ทหารนั้น...
ทำให้ประเทศอธิราชยอมแพ้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร ถือเป็นแผนการอันเลิศล้ำที่สุด
หากเอาชนะได้สำเร็จโดยการยกทัพไปตีประเทศอธิราช คือแผนที่ดีรองลงมา
การทำให้กองทัพศัตรูยอมสยบโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่คนเดียว คือแผนการอันล้ำเลิศ
หากทำให้สยบได้ด้วยการใช้กำลังตีทัพศัตรูแตกพ่าย คือแผนการที่ดีรองลงมา
ดังนั้น ร้อยรบร้อยชัย มิได้เลิศล้ำที่สุด การเอาชนะศัตรูได้โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อต่างหาก จึงนับว่าเลิศล้ำที่สุด
ดังนั้น แผนอันเลิศล้ำที่สุดคือใช้กลอุบายเอาชนะข้าศึก
รองลงไปคือใช้การทูตเอาชนะข้าศึก
รองลงไปอีกคือใช้กำลังทหารเอาชนะข้าศึก
แผนอันเลวที่สุดคือการตีชิงยึดเมือง
การยึดเมืองถือเป็นแผนสุดท้ายที่เมื่อไม่มีแผนอื่นเหลือให้ใช้แล้วจึงค่อยกระทำ
การสร้างโล่ใหญ่และรถศึกสี่ล้อ ตระเตรียมอาวุธ ต้องใช้เวลาสามเดือน
การสร้างเนินดินสำหรับจับตาดูความเคลื่อนไหวของข้าศึกภาพในเมืองเพื่อจะตีชิงเมือง ก็ต้องใช้เวลาสามเดือน
เวลาที่ถูกทอดยาวจะทำให้แม่ทัพเดือดดาลร้อนใจ และเร่งเร้าให้ทหารฮือเข้าไปตีเมืองดุจฝูงมด ทหารต้องตายไปหนึ่งในสาม แต่ยังคงตีเมืองไม่ได้ นี่เองคือข้อเสียของการที่ต้องตีชิงเมือง
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญกลศึก จะสามารถสยบทัพข้าศึกได้โดยไม่ต้องประจัญบาน ยึดครองเมืองของข้าศึกได้โดยไม่ต้องโหมปะทะตรงๆ ทำให้ประเทศของศัตรูล่มสลายได้โดยไม่ต้องยกทัพไปตีเป็นเวลานาน
ควรใช้กลอุบายที่ทำให้มั่นใจว่าจะชนะแน่นอนในการเอาชัยชิงแผ่นดิน เพื่อที่กองทัพจักได้ไม่เหนื่อยล้าต่อการศึกจนเสียการ และสามารถคว้าชัยชนะมาได้โดยสมบูรณ์ นี่เองคือหลักแห่งกลศึก
ดังนั้น ในการรบ
หากเรามีกองกำลังมากกว่าศัตรู 10 เท่า ให้ใช้วิธีโอบล้อมจาก 4 ด้านให้ศัตรูยอมสยบ
หากมีกำลังพลมากกว่าศัตรู 5 เท่า ให้จู่โจมศัตรู
หากมีกำลังมากกว่าศัตรู 1 เท่า ให้คิดแผนแบ่งแยกกำลังของศัตรูออกแล้วจู่โจมไปทีละกอง
หากกองกำลังของฝ่ายเราพอๆ กับศัตรู ต้องวางแผนหาทางเอาชัยให้ดีๆ
หากกองกำลังของเราน้อยกว่าศัตรู ต้องพยายามสลัดข้าศึกให้หลุด
หากปัจจัยทุกด้านของเราล้วนด้อยกว่าศัตรู ให้พยายามหาทางหลีกเลี่ยงการปะทะ
แม่ทัพคือผู้ช่วยของประเทศ หากช่วยเหลือได้รัดกุมรอบคอบ ประเทศก็จะเจริญแข็งแกร่ง หากช่วยเหลือไม่ดี ประเทศก็จะอ่อนแอ
ราชาจะสามารถทำร้ายกองทัพได้ด้วยเหตุผล 3 ประการ
1. ไม่เข้าใจว่ากองทัพจะบุกรุดหน้าไม่ได้แล้วกลับสั่งให้บุกรุดหน้า ไม่เข้าใจว่ากองทัพไม่อาจถอยได้แล้วกลับสั่งให้ถอย นี่เรียกว่าผูกมัดจำกัดความเคลื่อนไหวของกองทัพ
2. ไม่เข้าใจการบริหารภายในของกองทัพแล้วกลับยื่นมือเข้าแทรกแซง ทหารทั้งกองทัพจะงุนงงในกฎของทัพอันไม่เป็นหนึ่งเดียว
3. ไม่รู้กลศึกแต่กลับแทรกแซงการบังคับบัญชาของกองทัพ ทั้งแม่ทัพนายกองและพลทหารจะเกิดความอึดอัดไม่มั่นใจ
ในเมื่อกองทัพทั้งสับสนและอึดอัดมึนงงไม่มั่นใจ ก็จะเป็นสร้างสร้างโอกาสให้แคว้นอื่นฉกฉวยช่องว่างนี้เข้าจู่โจม นี่คือที่กล่าวกันว่าทำลายกองทัพของตัวเอง
ดังนั้น 5 ข้อต่อไปนี้จะทำให้ทำนายได้ว่าจะชนะหรือไม่
1. ทราบว่าเมื่อใดควรรบเมื่อใดไม่ควรรบ
2. สามารถพลิกแพลงใช้กลศึกตามจำนวนทหารที่มีได้เป็นอย่างดี
3. ทหารทั้งกองทัพสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันและสู้ถวายชีวิต
4. เตรียมตัวมาพร้อมเพื่อจะไปเผชิญหน้าอีกฝ่ายที่เตรียมตัวมาไม่พร้อม
5. แม่ทัพมีความสามารถในการนำทัพสูงเยี่ยมและราชาไม่แทรกแซงกิจการในกองทัพ
ดังนั้นจึงกล่าวว่า
รู้เขารู้เรา ร้อยรบไร้พ่าย
ไม่รู้เขารู้เรา จะชนะครึ่งหนึ่ง
ไม่รู้เขาไม่รู้เรา จะแพ้ทุกศึก
บทที่ ๔ สภาพ
นับแต่อดีตมา ผู้เชี่ยวชาญการทหาร จะสร้างปัจจัยอันได้เปรียบแก่ฝ่ายตนก่อน เพื่อให้ฝ่ายตนไม่แพ้ข้าศึก จากนั้นเสาะหาและรอคอยช่วงเวลาที่ข้าศึกมีโอกาสจะโดนเราตีพ่ายได้
การทำให้ฝ่ายตนไร้จุดอ่อนให้จู่โจมและมีโอกาสคว้าใจ เป็นการกระทำของฝ่ายตนเอง
การที่มีโอกาสเอาชัยข้าศึกได้ อยู่ที่ข้าศึกเผยช่องโหว่
ดังนั้นผู้ที่เก่งกาจด้านการทหารจะสามารถทำให้ฝ่ายตนไม่ถูกเอาชัยได้ แต่ไม่อาจทำให้ฝ่ายศัตรูตกอยู่ในสภาพที่จะถูกฝ่ายเราพิชิตได้
ดังนั้น ชัยชนะนั้นสามารถคาดการณ์ได้ แต่หากศัตรูไร้ช่องโหว่ให้ฉกฉวย เราก็ไม่อาจมั่นใจได้เช่นกันว่าจะชนะ
เมื่อเราอยู่ในฐานะที่ไม่อาจเอาชัยศัตรูได้ จงทำการป้องกัน
หากอยู่ในฐานะที่สามารถเอาชัยศัตรูได้ ให้ดำเนินการบุก
การตั้งรับนั้นเนื่องมาอยากปัจจัยที่จะคว้าชัยยังมีไม่มากพอ
การเป็นฝ่ายบุกนั้นเนื่องจากปัจจัยในการคว้าชัยมีเหลือเฟือ
ผู้ชำนาญการตั้งรับ จะสามารถปกปิดความเคลื่อนไหวของตนได้ดุจซ่อนกายอยู่ใต้ดิน ทำให้ข้าศึกไม่อาจหยั่งเห็นได้
ผู้เชี่ยวชาญการจู่โจม ความเคลื่อนไหวจะลึกล้ำสุดหยั่งคาด ทำให้ศัตรูมิอาจป้องกันได้
ดังนั้น จึงสามารถทั้งรักษาตนให้รอดปลอดภัยและเอาชัยข้าศึกได้โดยสมบูรณ์
หลักการใช้ทหาร 1. คือ วัด 2. คือ ตวง 3. คือ นับ 4. คือ ชั่ง 5. คือชัย
วัด สังเกตพื้นที่ว่าเปี่ยมอันตราย กว้างแคบ เป็นที่เป็นหรือที่ตาย จากนั้นคาดคะเนความสามารถในการรองรับทหารของพื้นที่นั้นๆ ว่าจะสามารถรองรับทหารของทั้งสองฝ่ายได้เท่าไร จากนั้นมาคาดคะเนว่าฝ่ายเราควรจะส่งทหารไปยังพื้นที่นั้นเท่าไร และใช้การนี้คำนวณผลแพ้ชนะ ดังนั้น ผู้ที่จะแพ้พ่ายคือผู้ที่คำนวณผิดพลาด
บทที่ ๕ อานุภาพ
การจะปกครองกองทัพใหญ่ก็เหมือนการปกครองกองทัพย่อย นั่นคือต้องแบ่งแยกเป็นกลุ่มกอง
การจะบังคับบัญชาคนจำนวนมาก ก็เหมือนบังคับบัญชาคนจำนวนน้อย นั่นคือต้องตั้งรหัสสัญลักษณ์ที่จะใช้เป็นสัญญาณและทำให้สัญญาณเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปทั่วถึง และได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
จะทำให้กองทัพของประเทศไม่ถึงกับแตกพ่ายเมื่อถูกศัตรูบุกจู่โจมอย่างกะทันหัน ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ “กำลังหลักและกำลังสำรอง”
การจะทำให้ยามกองทัพจู่โจมข้าศึก เป็นประดุจใช้หินกระทบไข่ ไร้ผู้ต่อต้าน ขึ้นอยู่กับการใช้ “จริงและเท็จ”
ปกติการทำสงครามนั้น มักใช้กำลังหลักเผชิญหน้ากับศัตรู และใช้กำลังสำรองเอาชัย ดังนั้น แม่ทัพที่เชี่ยวชาญการใช้กำลังสำรองชนะศึก ความสามารถในการพลิกแพลงใช้ทหารของเขาจะต้องเป็นประดุจเทวดา มากมายไม่สิ้นสุด เป็นประดุจแม่น้ำหลั่งไหลไม่ขาดตอน หมดแล้วมีใหม่ไม่เคยแห้งเหือด ดุจตะวันจันทราสลับสับเปลี่ยน
น้ำเชี่ยวสามารถเคลื่อนศิลา เป็นเพราะกระแสน้ำไหลแรง วิหคร้ายสามารถปลิดชีพเหยื่อได้ในคราเดียว เนื่องจากจังหวะและความเร็วในการจู่โจม
ดังนั้น เวลาแม่ทัพที่ฉลาดออกศึก จะต้องสร้างจังหวะจู่โจมของฝ่ายตนในรูปแบบรวดเร็ว ฉับไว และดุดัน อานุภาพเช่นนี้ประดุจเกาทัณฑ์น้าวสุดสาย จังหวะเช่นนี้ ประดุจสะกิดปล่อยหน้าไม้
ขณะที่ต้องรบในสถานการณ์สับสน ต้องทำให้กองทัพของตนไม่สับสนรวนเร ต้องยังสามารถบังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกหมู่เหล่า เพื่อให้ศัตรูไม่มีช่องว่างให้ฉกฉวย
ความสับสนรวนเรของกองทัพนั้นเกิดจากการบังคับบัญชา
ความขลาดเขลานั้นก็เกิดจากใช้ความกล้าหาญไม่ถูกทาง
ความอ่อนแอเกิดจากการใช้ความเข้มแข็งไม่ถูกทาง
ความสับสนรวนเรเกิดจากการบังคับบัญชาที่หย่อนประสิทธิภาพ
ความขลาดเขลาของทหารเกิดจากการใช้ทหารผิดหน้าที่และความชำนาญ
ความอ่อนแอของกองทัพเกิดจากกำลังพลและการเตรียมพร้อมไม่มากพอ
ดังนั้น หากแม่ทัพที่เก่งกาจใช้หลักการเหล่านี้หลอกตบตาศัตรู ศัตรูจะถูกตบตาอย่างแน่นอน
หากเอาผลประโยชน์เข้าล่อศัตรู ศัตรูจะต้องหลงกลอย่างแน่นอน
ใช้กำลังพลที่อ่อนแอตบตาศัตรูว่าฝ่ายตนอ่อนแอ เพื่อล่อให้ศัตรูตกเข้าสู่หลุมพรางของทหารฝ่ายตนที่ดักซุ่มอยู่
ดังนั้น แม่ทัพผู้เก่งกาจ จะต้องมุ่งความสนใจไปยัง “การใช้ทหารให้เหมาะสมกับความสามารถ” โดยไม่คาดหวังให้ทหารทำอย่างที่ตนต้องการไปทุกอย่าง ดังนั้น เขาจึงสามารถเลือกให้บุคลากรได้อย่างเหมาะสม
ผู้เชี่ยวชาญการใช้คนนั้น เวลาบังคับบัญชาการรบ จะเป็นเหมือนเคลื่อนขยับก้อนหินหรือท่อนซุง ก้อนหินหรือท่อนซุงนั้น มีคุณลักษณะที่ จะตั้งอยู่อย่างมั่นคงบนพื้นราบ และเคลื่อนไหวง่ายในที่ชัน ไม้หรือหินทรงสี่เหลี่ยมจะวางได้มั่นคง ไม้หรือหินทรงกลมจะเคลื่อนที่ได้ง่าย
ดังนั้นแม่ทัพที่บังคับบัญชาเก่งๆ จะพยายามสร้างความได้เปรียบให้ฝ่ายตน เหมือนปล่อยหินกลมให้กลิ้งลงมาจากยอดเขาสูงลิบ ใครก็มิอาจต้านทานได้ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า “อานุภาพ”
บทที่ ๖ จริงเท็จ
ผู้ไปถึงสมรภูมก่อนและรอให้ศัตรูมาถึง จะเป็นฝ่ายบุกจู่โจมและได้เปรียบ ผู้ไปถึงสมรภูมิทีหลังจะอ่อนเพลียเหนื่อยล้า และเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญการศึกจะเป็นฝ่ายควบคุมศัตรูมิใช่ถูกศัตรูควบคุม
การที่จะสามารถล่อศัตรูมาติดกับ ต้องอาศัยผลประโยชน์ส่วนน้อย (ส่งกองทหารกองเล็กๆ ไปล่อ)
การจะทำให้ศัตรูไม่กล้าคืบหน้าบุกเข้ามา ต้องใช้วิธีข่มขู่
หากศัตรูเตรียมตัวมาพร้อม ต้องหาทางทำให้เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า
หากศัตรูเตรียมเสบียงมาพร้อม ให้หาทางทำให้ต้องอดโซ
ศัตรูตั้งมั่นไม่ขยับ ต้องหาทางทำให้ศัตรูขยับ
การจู่โจมต้องมุ่งเน้นไปยังจุดที่ศัตรูไม่อาจเร่งรุดไปช่วยเหลือหนุนเสริมได้ทัน
ยามเคลื่อนทัพต้องเคลื่อนในเส้นทางที่ศัตรูไม่อาจหยั่งคาด
การเดินทัพนับพันลี้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย เป็นเพราะเดินอยู่ในดินแดนที่ไร้ข้าศึก หรือดินแดนที่ข้าศึกป้องกันไม่เหนียวแน่น
การจู่โจมที่จะประสบผลแน่นอน ต้องจู่โจมจุดที่ศัตรูไม่ทันระวัง หรือไม่อาจระวังป้องกันได้
การป้องกันอันเหนียวแน่น เนื่องจากป้องกันจุดที่ศัตรูไม่กล้าจู่โจมหรือยากจะจู่โจมได้
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญการจู่โจมจะจู่โจมในแบบที่ทำให้ศัตรูไม่ทราบจะป้องกันอย่างไรดี และผู้เชี่ยวชาญการป้องกันคือผู้ที่สามารถทำให้ศัตรูไม่ทราบจะจู่โจมอย่างไรดี
การกระทำต้องยอดเยี่ยมเลิศล้ำถึงขั้นไร้ร่องรอยให้สืบสาว ไร้สุ้มเสียงให้จับได้
ยามบุก ศัตรูมิอาจต้าน เพราะบุกสู่จุดที่การป้องกันของศัตรูเปราะบาง
ยามถอย ศัตรูมิอาจติดตามทัน เพราะความเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างรวดเร็วฉับไว
ดังนั้น หากข้าจะบุก แม้ศัตรูจะตั้งรับอยู่หลังกำแพงอันมั่นคง ก็ยังต้องยกทัพออกมาประจันหน้า เพราะข้าเลือกจู่โจมจุดที่ศัตรูจำเป็นต้องป้องกัน
หากข้าไม่คิดประจันหน้า ต่อให้ศัตรูทำอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ข้าออกประจันหน้าด้วยได้ เพราะข้าได้ใช้วิธีเปลี่ยนแปลงเส้นทางบุกของศัตรู
ดังนั้น ต้องใช้สิ่งที่แสดงออกหลอกตบตาศัตรูให้เผยความประสงค์ออกมา ส่วนฝ่ายตนไม่เผยร่องรอยออกไป ทำให้ศัตรูไม่อาจหยั่งคาดฝ่ายเราได้ ก็จะสามารถทำให้กำลังของฝ่ายเรารวมตัวแข็งแกร่งในขณะที่กองกำลังของศัตรูแยกย้ายกระจัดกระจาย
กองกำลังของฝ่ายเรารวมกันอยู่ยังจุดหนึ่ง ส่วนกำลังของศัตรูแยกย้ายกระจายอยู่สิบแห่ง เช่นนี้เราก็จะสามารถใช้วิธีอาศัยกำลังที่มากกว่าศัตรูสิบเท่าจู่โจมศัตรูไปทีละกลุ่ม
อย่าให้ศัตรูทราบจุดที่เราจะจู่โจม เมื่อศัตรูไม่รู้ ก็จะต้องวางกำลังป้องกันไว้ทุกจุด ยิ่งศัตรูกระจายกำลังไว้มากจุด กำลังหลักก็จะยิ่งแตกกระจายไม่รวมตัว เราก็จะสามารถลดจำนวนศัตรูที่ต้องจู่โจมลงไปได้มาก
ดังนั้น หากระมัดระวังป้องกันด้านหน้าเป็นพิเศษ ด้านหลังกำลังป้องกันจะค่อนข้างอ่อนแอ
ระวังป้องกันปีกซ้าย ปีกขวาก็จะอ่อนแอ
หากป้องกันทุกด้าน กำลังทุกจุดก็จะอ่อนแอ
การที่กำลังพลน้อย ก็เนื่องจากเราบีบให้ศัตรูต้องป้องกันเราไปเสียทุกจุด
กำลังข้าศึกมีมาก ก็เนื่องจากเราบีบให้ศัตรูจำต้องแบ่งทหารมาป้องกันเรา
ดังนั้น หากสามารถคะเนสถานที่และเวลาอันจะประจันกับข้าศึกได้ล่วงหน้า เช่นนี้ แม้จะเดินทางมาเป็นพันลี้ ก็ยังสามารถประจันกับข้าศึกได้
แต่หากไม่อาจทราบทั้งเวลาและสถานที่ที่จะปะทะกันล่วงหน้าได้ ก็จะเกิดสภาพ ปีกซ้ายไม่อาจช่วยปีกขวา กองหน้าไม่อาจช่วยกองหลัง อย่าว่าแต่ละกองทัพอยู่ห่างกันมากถึงหลายสิบลี้ ต่อให้อยู่ใกล้กันก็ยังห่างกันหลายลี้
ดังนั้น แม้ศัตรูจะมีกองกำลังมากกว่า เราก็ยังมีทางทำให้เขาไม่อาจใช้กองกำลังทั้งหมดมาจัดการเราได้พร้อมกัน
จงวิเคราะห์แลคาดคะเนอย่างจริงจัง เพื่อหยั่งจุดเด่นจุดด้อยในกลศึกของศัตรู
หาทางล่อลวงศัตรูเพื่อทำความเข้าใจต่อรูปแบบการจัดทัพและระเบียบทัพของศัตรู
ใช้ความเคลื่อนไหวลวงศัตรู เพื่อหยั่งทราบจุดเด่นจุดด้อยของชัยภูมิที่ศัตรูใช้
ใช้การสอดแนมเพื่อสืบทราบจำนวนทหารและความสามารถของทหารฝ่ายศัตรู
ดังนั้น หากสามารถใช้แผนลวงได้เลิศล้ำถึงขีดสุด จะสามารถทำให้ศัตรูไม่อาจหยั่งคาดความเคลื่อนไหวของเราได้แม้แต่น้อย เช่นนี้ แม้จะมีไส้ศึกแทรกซึมปะปน ก็ไม่อาจหยั่งทราบความเคลื่อนไหวของเราว่าใดจริงใดเท็จได้
แม้จะเป็นผู้ชาญฉลาดเลอเลิศ ก็ไม่อาจนึกหาวิธีรับมือเราได้
แม้จะใช้กลศึกอันพลิกผันเปลี่ยนแปลงตามความเคลื่อนไหวของศัตรูแล้วคว้าชัยมาได้ต่อหน้าทุกคน ทุกคนก็ยังดูไม่ออก ทุกคนต่างทราบเพียงวิธีเอาชนะแบบธรรมดาของข้า แต่ต่างไม่ทราบว่าข้าใช้วิธีใดพลิกแพลงตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของศัตรูและเอาชนะศัตรูได้
ดังนั้น ทุกครั้งที่ออกรบ ล้วนไม่เคยใช้วิธีซ้ำกัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามความเคลื่อนไหวแต่ละครั้งของข้าศึกทั้งสิ้นไม่รู้จบ
การใช้ทหารเปรียบดั่งน้ำ น้ำจะไม่ไหลขึ้นที่สูง แต่จะไหลลงที่ต่ำเสมอ
การรบก็เช่นกัน จะต้องหลีกเลี่ยงจุดที่ศัตรูป้องกันเข้มแข็ง แต่จู่โจมจุดที่ศัตรูป้องกันเปราะบาง
น้ำจะไหลเร็วช้าตามความสูงที่แตกต่างกัน การทหารก็เช่นกัน จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของศัตรูโดยไม่ซ้ำแบบ ดังนั้นจึงไม่มีรูปแบบใดที่แน่นอน ดุจสายน้ำไม่เคยคงรูป
หากสามารถพลิกแพลงตามความเคลื่อนไหวของศัตรูแล้วคว้าชัยได้ จึงนับว่าใช้ทหารได้ดุจเทพยดา
หลักในการใช้ทหารก็เหมือนหลักธรรมชาติทั้ง 5 นั่นคือ ธาตุทั้ง 5 หนุนเสริมและสะกดข่มซึ่งกันและกัน 4 ฤดูหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันตามลำดับ กลางวันมีสั้นมียาว พระจันทร์มีกลมมีเว้า เปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด
บทที่ ๗ การแย่งชิงชัยภูมิ
หลักการใช้ทหาร แม่ทัพรับบัญชาจากราชา เกณฑ์พลเรือนเป็นกองทหาร เคลื่อนขบวนสู่แนวหน้าประจันกับศัตรู ในระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ สิ่งที่ยากลำบากที่สุดไม่มีใดกินแย่งชิงปัจจัยที่จะทำให้ได้ชัยกับศัตรู
จุดที่ยากที่สุดในการแย่งชิง คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเดินผ่านเส้นทางคดเคี้ยวยาวไกลเพื่อบรรลุจุดหมายอันอยู่ใกล้ แปรเสียเปรียบเป็นได้เปรียบ จงใจเดินทางอ้อม และใช้ผลประโยชน์ส่วนน้อยล่อศัตรูให้มาถึงช้ากว่า เช่นนี้ก็จะสามารถบรรลุจุดประสงค์ ออกเดินทางทีหลังแต่บรรลุจุดหมายก่อนศัตรูได้
นี่คือที่เรียกว่ารู้จักใช้แผน “ใช้ทางอ้อมเพื่อทางลัด”
การแย่งชิงชัยภูมิมีประโยชน์มีมีภัย หากกองทัพบรรทุกอุปกรณ์จำเป็นในการเดินทัพทั้งหมดไปแย่งชิงชัยภูมิ ก็จะทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าและไปถึงที่หมายไม่ทัน หากไม่นำเสบียงไปด้วย ก็จะขาดแคลนเสบียง ดังนั้น กองทัพที่รีบเร่งเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนโดยไม่หยุดพัก เพื่อเร่งเดินทางให้เร็วเป็นเท่าตัว
หากเดินทางไปชิงชัยภูมิเป็นระยะทางร้อยลี้ แม่ทัพทั้งสามเหล่าทัพจะมีโอกาสถูกจับสูง ทหารหนุ่มที่ยังแข็งแรงเดินทางไปถึงก่อนแล้ว ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอกว่าจะถูกสลัดทิ้งจากขบวน เกรงว่าผลลัพธ์คือกองทัพจะเหลือคนอยู่เพียง 1/10
หากเดินทางห้าสิบลี้ไปชิงชัยภูมิ กองที่นำหน้าอาจถูกตีพ่าย และผลสุดท้ายก็จะมีกองกำลังเพียงครึ่งเดียวที่เดินทางไปถึง
หากเดินทางสามสิบลี้ไปชิงชัยภูมิ กองทัพที่จะเดินทางไปถึงก็มีเพียง 2/3 เท่านั้น
ดังนั้น หากกองทัพไร้เสบียงก็จะแพ้พ่าย ไม่อาจคงอยู่ได้ ไม่มีสิ่งของสำรองก็จะไม่อาจทำสงครามได้นาน
ดังนั้น หากไม่เข้าใจแผนการของแคว้นอื่น ก็ห้ามเชื่อมสัมพันธ์ด้วยเด็ดขาด หากไม่ชำนาญภูมิประเทศ ว่าที่ใดเป็นป่าเขา ชัยภูมิอันตราย หรือแม่น้ำลำคลอง ก็ห้ามเดินทัพผ่านเด็ดขาด หากไม่ชำนาญภูมิประเทศ จะไม่มีทางได้เปรียบด้านชัยภูมิเด็ดขาด
การรบทัพจับศึกต้องพลิกแพลงร้อยเปลี่ยนพันแปรจึงจะสามารถคว้าชัยมาได้ เคลื่อนไหวกองทัพตามผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ไม่ว่าจะใช้วิธีแยกทัพหรือรวมทัพ ล้วนพลิกแพลงตามสถานการณ์
ยามกองทัพเร่งเคลื่อนไหว ประดุจลมพายุพัดถึงกาย
ยามกองทัพชะลอเชื่องช้า จักแน่นหนาดุจป่าทึบ
ยากบุกจู่โจมศัตรู ประดุจเปลวไฟเรืองโรจน์
ยามตั้งมั่นเฝ้ารักษา มั่นคงดั่งภูผา
ยามแฝงกายหลบเร้น ดุจฟ้าครึ้มฝนมิอาจมองเห็นสุริยันจันทราและดารา
ยามเคลื่อนไหว ดุจสายฟ้าหมื่นสายฟาดกระหน่ำ
ใช้การพูดบังคับบัญชาไม่ได้ จึงใช้กลองแทน ใช้กิริยาอาการบังคับบัญชาไม่กระจ่าง จึงใช้ธงแทน
กลอง และ ธงรบ จึงเป็นอุปกรณ์ในการใช้บังคับบัญชากองทัพที่สำคัญ
เมื่อการบังคับบัญชากองทัพเป็นไปอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เช่นนั้นทหารหาญจะไม่อาจบุกรุดหน้าไปโดยพลการเพียงลำพัง ทหารที่ขี้ขลาดก็จะไม่อาจแอบถอยไปเพียงลำพังได้ นี่แหละคือวิธีบังคับบัญชากองทหารที่มีทหารจำนวนมาก
ดังนั้น หากเป็นการรบในยามกลางคืน ให้พยายามใช้แสงไฟกับกลองรบบังคับบัญชา
หากเป็นการรบในยามกลางวัน ให้ใช้ธงรบในการบังคับบัญชา
การเปลี่ยนมาใช้กลองศึกและธงรบเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อให้ทหารสามารถมองเห็นและได้ยินการบังคับบัญชาได้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น
เราสามารถทำลายความฮึกเหิมของสามทัพศัตรูได้ เราสามารถทำลายความมั่นใจของแม่ทัพฝ่ายศัตรูได้
ยามแรกออกรบ ทหารจะฮึกเหิม เมื่อเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ทหารก็จะเริ่มเนือยลง เมื่อถึงช่วงสุดท้าย ทหารจะเริ่มหมดกำลังใจจะรบและอยากกลับบ้าน
ดังนั้น ผู้ชำนาญการศึกมักหลีกเลี่ยงการปะทะกับทหารที่กำลังฮึกเหิมของข้าศึก และรอจนกว่าทหารข้าศึกเริ่มเนือยจึงค่อยยกทัพไปตี นี่คือหลักในการยึดกุมกำลังใจรบของทหาร
เอาความเป็นระเบียบของตนไปปะทะกับความสับสนรวนเรของศัตรู ใช้ความสงบเยือกเย็นของฝ่ายตนเข้าปะทะกับความหวาดหวั่นของศัตรู นี่คือหลักในการยึดกุมจิตใจของทหาร
ใช้ประโยชน์จากการที่เราอยู่ใกล้สนามรบในขณะที่ศัตรูต้องเดินทางไกลมายังสนามรบ ใช้การรอคอย อย่างสงบเยือกเย็นและเตรียมพร้อมของเราไปปะทะกับการต้องเดินทางไกลจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าของศัตรู ใช้การที่เสบียงของฝ่ายเราเต็มเปี่ยมพร้อมมูลไปปะทะกับฝ่ายศัตรูที่เสบียงหมดสิ้นทหารอดอยากหิวโหย นี่คือหลักในการยึดกุมกำลังรบของทหาร
อย่าได้ไปปะทะกับศัตรูที่จัดกองทัพอย่างเป็นระเบียบ ตั้งทัพอย่างหนาแน่นรัดกุม อย่าได้ไปปะทะกับกองทัพที่สงบเยือกเย็นและมีกำลังพลรบมหาศาล นี่คือหลักการพลิกแพลงตามสภาพของศัตรู
บทที่ ๘ เก้าเปลี่ยนแปลง
อันวิธีการใช้ทหารนั้น แม่ทัพรับคำสั่งจากราชาเกณฑ์ทหารจัดเป็นกองทัพ
1. ห้ามหยุดตั้งทัพยังพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมถึง หรือยากจะเดินทางได้
2. เมื่อไปถึงกลางทางแยกที่จะสามารถทะลุทะลวงไปได้ทุกที่ ให้ผูกมิตรกับทุกแคว้น
3. ห้ามหยุดยั้งยังพื้นที่ซึ่งทุรกันดาร เดินทางลำบากทั้งไปหน้าและถอยหลัง
4. หากไปถึงพื้นที่ซึ่งจะถูกโอบล้อมได้ง่าย นั่นคือเข้าง่ายออกยาก ทำให้ศัตรูจำนวนหยิบมือสามารถเล่นงานเราได้สบายๆ จะต้องวางแผนให้ดีๆ
5. หากไปถึงทางตัน ซึ่งไม่อาจทำได้ทั้งไปหน้าและถอยหลัง ให้เสี่ยงสู้ถวายชีวิต
6. บางเส้นทางไม่ควรเดินผ่าน
7. บางกองทัพไม่ควรปะทะด้วย
8. มีบางเมืองไม่จำเป็นต้องบุกตียึดครอง มีบางที่ไม่จำเป็นต้องไปแย่งชิงผลประโยชน์ (ได้ไม่คุ้มเสีย ได้แล้วไม่อาจแบ่งทหารไปเฝ้าประจำ ก็ไม่ควรไปบุกตี)
9. คำสั่งบางอย่างของราชาไม่ต้องไปทำตามก็ได้ ในกรณีที่คำสั่งของราชานั้นจะขัดกับหลักแห่งความปลอดภัยของกองทัพ
ดังนั้นแม่ทัพที่ทราบข้อดีของ “เก้าเปลี่ยนแปลง” ย่อมเป็นแม่ทัพที่ใช้ทหารเป็น แม่ทัพซึ่งไม่ชำนาญการใช้ “เก้าเปลี่ยนแปลง” แม้จะเชี่ยวชาญภูมิประเทศ ก็ไม่อาจได้ประโยชน์จากการนั้น
แม่ทัพที่ชาญฉลาดนั้น ยามคิดถึงปัญหา จะต้องคิดถึงทั้งข้อดีและข้อเสีย คิดถึงความเป็นไปได้ที่เลวร้ายที่สุดในขณะที่กำลังได้เปรียบ สิ่งที่ทำจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและสามารถหลีกเลี่ยงเคราะห์ภัยได้
การจะทำให้ราชาแคว้นอื่นยอมสยบ จะต้องใช้สิ่งที่ราชาผู้นั้นหวาดกลัวที่สุดไปข่มขู่คุกคาม
การจะควบคุมบังคับราชาแคว้นอื่น ต้องใช้เรื่องซึ่งอันตรายอย่างยิ่งไปทำให้เขากังวล
การทำให้ราชาแคว้นอื่นยอมสยบ ต้องใช้ผลประโยชน์เข้าล่อ
ดังนั้น หลักการใช้ทหาร อย่าตั้งความหวังว่าศัตรูจะไม่มา แต่ต้องพึ่งการตั้งรับอย่างแข็งแกร่งของฝ่ายตน เตรียมตัวให้พร้อมสรรพ
อย่าตั้งความหวังว่าศัตรูจะไม่บุก แต่ต้องพึ่งตัวเองโดยพยายามทำให้ศัตรูไม่อาจทำลายเราได้
ขุนพลทั้งหลายมักมีจุดอ่อนดังนี้
1. ห้าวหาญแต่ไร้แผนการ รู้จักแต่สู้เสี่ยงชีวิต จึงมีโอกาสถูกศัตรูล่อลวงไปฆ่าสูง
2. ถึงเวลาต้องรบจริงแล้วนึกขลาดเขลาขึ้นมา รักตัวกลัวตาย จึงมีโอกาสถูกศัตรูจับเป็นเชลยสูง
3. ใจร้อนขี้โมโห กระตุ้นหน่อยก็เดือดดาล จะถูกศัตรูยั่วแหย่ให้โกรธจนลืมตัว เคลื่อนทัพโดยประมาท
4. นิยมชื่อเสียงเกียรติยศ ยกย่องตัวเองเสียสูงส่ง อาจจะถูกศัตรูใช้วิธีเหยียดหยามดูแคลนจนรู้สึกต่ำต้อยด้อยปัญญาจนไหวพริบเสื่อมสูญได้
5. รักชาวเมืองเกินไป จะถูกศัตรูใช้ประโยชน์ทำให้ไม่อาจรบได้เต็มกำลังจนต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและถูกควบคุม
5 ข้อข้างต้นเป็นข้อผิดพลาดสิ่งซึ่งแม่ทัพมักถลำตัวกระทำได้โดยง่าย เป็นความหายนะในการใช้ทหาร การล่มสลายของกองทัพ แม่ทัพถูกฆ่า ล้วนมีสาเหตุมาจาก 5 ข้อนี้ทั้งสิ้น นี่จึงเป็นสิ่งที่ผู้เป็นแม่ทัพมิอาจไม่ระวัง
บทที่ ๙ การเดินทัพ
ในการเดินทัพและจับตาดูข้าศึก ควรระวังดังต่อไปนี้
เมื่อเดินทัพผ่านพื้นที่ภูเขา
1. ให้เดินเลาะไปตามหุบเขาซึ้งมีหญ้าน้ำอุดมสมบูรณ์
2. ยามหยุดตั้งทัพ ต้องเลือก “ที่เป็น” คือ มีทางหนีทีไล่สะดวก และตั้งค่ายพักในที่สูง หันหน้าไปทางทิศใต้
3. หากศัตรูยึดที่สูงได้ ห้ามไปปะทะด้วยเด็ดขาด
หากต้องข้ามแม่น้ำ
1. ต้องตั้งค่ายพักในจุดที่ห่างจากแม่น้ำพอสมควร
2. หากทัพศัตรูยกข้ามแม่น้ำมาจู่โจม อย่าปะทะกันในน้ำ ให้ฉวยโอกาสจู่โจมขณะที่ทัพศัตรุส่วนหนึ่งข้ามแม่น้ำมาแล้วจะได้ผลที่สุด
3. หากต้องปะทะกับทัพศัตรู อย่าปะทะกันใกล้ๆ แม่น้ำ
4. ขณะตั้งค่ายพักหรือจัดทัพใกล้แม่น้ำ ก็อย่าตั้งอยู่ทางใต้น้ำของศัตรู
หลักการเดินทัพผ่านพื้นที่ดินเค็มหรือน้ำท่วมถึงมีหนองบึง
หากผ่านพื้นที่ดินเค็มหรือน้ำท่วมถึงมีหนองบึง ต้องรีบผละห่างโดยเร็ว ห้ามหยุดพักตั้งค่ายเด็ดขาด
หากปะทะกับศัตรูในพื้นที่ดินเค็มหรือมีหนองบึงน้ำท่วมถึง ให้ยึดพื้นที่ซึ่งมีหญ้าน้ำและติดป่าไม้
การตั้งทัพยังทุ่งราบ
ต้องเลือกที่ราบเรียบ จะให้ดีด้านหลังควรอิงเขาสูง ให้ด้านหน้าลาดลงต่ำ ด้านหลังเป็นภูสูง
ตามธรรมดาแล้ว การตั้งทัพมักนิยมตั้งในที่สูง รังเกียจการตั้งทัพในที่ต่ำ เน้นการหันหน้าไปทางทิศใต้ หลีกเลี่ยงการหันหน้าไปทางทิศเหนือ และตั้งค่ายพักในที่ซึ่งสะดวกแก่การหาปัจจัยดำรงชีวิต เช่นนี้ทหารทั้งหลายจะได้ไม่เจ็บป่วย นี่คือหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ชนะสงคราม
การตั้งทัพยังเนินสูง หรือเขื่อนตลิ่ง ต้องหันหน้าไปทางทิศใต้ ทั้งยังต้องหันหลังให้ยอดเนิน ปัจจัยอันเป็นประโยชน์ต่อทหารเหล่านี้นั้นได้มาจากการช่วยเหลือของชัยภูมิ
หากต้นแม่น้ำมีฝนตกหนัก มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ให้รอจนสายน้ำสงบนิ่งค่อยข้ามเพื่อป้องกันน้ำป่าไหลบ่า
หากพบพื้นที่เหล่านี้
สองฟากแม่น้ำเป็นหน้าผาสูงชัน
บ่อสวรรค์ รอบด้านล้วนเป็นผาสูง ตรงกลางเป็นที่ต่ำ
คุกสวรรค์ รอบด้านมีแต่เส้นทางอันตราย เข้าง่ายออกยาก
ตาข่ายฟ้า คือพื้นที่เต็มไปด้วยพุ่มหนาม ยากจะผ่านไปได้
กับดักฟ้า พื้นที่ชื้นแฉะเป็นบ่อโคลน
ช่องว่างแห่งฟ้า คือพื้นที่ผาสูงชันขนาบหุบผาเล็กแคบไว้ตรงกลาง หรือ ทางที่เว้าลึกลงไปหลายฉื่อ กว้างหลายจ้าง
จะต้องรีบผ่านไปโดยเร็วและห้ามเข้าไปใกล้ เราหลีกหนีห่างจากมัน ให้ศัตรูเข้าไปใกล้มัน
เราเผชิญหน้ากับชัยภูมิเหล่นี้ โดยให้ศัตรูหันหลังให้ชัยภูมิเหล่านี้
หากกองทัพต้องเดินผ่านภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขาและแม่น้ำที่เปี่ยมอันตราย พื้นที่ต่ำมีพุ่มหนามงอกเต็ม และป่าทึบ จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะพื้นที่เหล่านี้จะเป็นที่ซ่อนตัวสำหรับซุ่มจู่โจมและเป็นที่ซ่อนตัวของไส้ศึกได้ง่ายมาก
ทหารข้าศึกที่อยู่ห่างจากเราไม่มากแต่ยังคงรักษาความสงบเยือกเย็นอยู่ได้ เป็นเพราะถือดีว่าอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบ
หากทหารข้าศึกมาท้าทายเราทั้งที่ยังอยู่ห่างไกล แสดงว่าต้องการล่อเราให้เข้าไปใกล้
การที่ศัตรูไม่ยอมยึดชัยภูมิมีเปรียบแต่กลับยึดชัยภูมิราบเรียบธรรมดา แสดงว่ามีจุดประสงค์จะใช้ประโยชน์จากการนั้นโดยเฉพาะ
หากในป่ามีต้นไม้หลายต้นขยับไหว แสดงว่าศัตรูวางกำลังหมายซุ่มโจมตีเรา
หากในกอหญ้าพุ่มไม้จัดวางสิ่งของบังตา แสดงว่าศัตรูใช้กลลวงหมายตบตาเรา
การที่อยู่ๆ นกก็บินหนีขึ้นฟ้า แสดงว่าตรงนั้นมีทหารซุ่มอยู่
การที่สัตว์ป่าวิ่งหนีอย่างตื่นตระหนก แสดงว่ากองทัพใหญ่ของข้าศึกบุกมาจู่โจม
หากฝุ่นลอยสูงและแหลม แสดงว่ารถศึกของข้าศึกกำลังมุ่งตรงมายังเรา
หากฝุ่นลอยต่ำและแผ่กว้าง แสดงว่าทัพเดินเท้าของข้าศึกกำลังเดินมุ่งหน้ามายังเรา
หากฝุ่นกระจัดกระจาย เล็กเรียว และยาว แสดงว่าข้าศึกกำลังตัดฟืน
หากฝุ่นน้อยและเดียวสูงเดี๋ยวต่ำ แสดงว่าข้าศึกกำลังตรวจสอบพื้นที่ ตระเตรียมตั้งค่าย
หากทูตของศัตรูเอ่ยวาจานอบน้อมถ่อมตน ขณะที่ประเทศเขากำลังเร่งเตรียมการรบ แสดงว่าคิดจะมาบุกเรา
หากทูตของศัตรูพูดจาแข็งกร้าว ทั้งยังยกทัพมาประชิดคุกคาม แสดงว่าเตรียมจะถอย
หากรถศึกของข้าศึกออกนำและยึดครองปีกซ้ายขวา แสดงว่ากำลังจัดตั้งขบวนทัพเตรียมรบ
หากอยู่ๆ ข้าศึกก็มาขอเจรจาสงบศึกโดยไร้วี่แววมาก่อน แสดงว่ามีแผนร้ายซ่อนเร้น ฝ่ายข้าศึกจัดตั้งขบวนรถศึกแล่นเข้าหาเราอย่างรวดเร็ว แสดงว่ารอจะปะทะกับเราอยู่
ทัพข้าศึกครึ่งรุดหน้าครึ่งถอยหลัง อาจจะเป็นเพราะต้องการจะลวงให้เราสับสนคาดเดาไม่ถูกและเกิดการรวนเร
หากทหารข้าศึกเอาอาวุธออกยันพื้นเพื่อค้ำตัว แสดงว่าอดอยากหิวโหยเพราะขาดเสบียง
หากทหารข้าศึกตักน้ำจากบ่อแล้วรีบร้อนจะดื่มก่อน แสดงว่าทกองทัพกำลังขาดน้ำ
ศัตรูเห็นผลประโยชน์ให้ฉกฉวยแต่กลับไม่รุดเข้าแย่งชิง แสดงว่าอ่อนเพลียจัด
หากค่ายพักของศัตรูมีนกบินไปเกาะรวมฝูง แสดงว่าค่ายพักนั้นว่างเปล่า
หากในค่ายพักศัตรูมีเสียงกรีดร้องในยามราตรี แสดงว่าทหารข้าศึกกำลังกดดันและหวาดกลัว
ค่ายทัพศัตรูกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ แสดงว่าแม่ทัพของศัตรูคุมทัพไม่เข้มงวด
หากธงรบของค่ายทัพศัตรูโบกสะบัดไม่เป็นจังหวะ แสดงว่าขบวนทัพของศัตรูกำลังสับสนรวนเร
หากขุนนางของข้าศึกหงุดหงิดใจร้อนขี้โมโห แสดงว่ากองทัพของศัตรูอดหลับอดนอนมาหลายวันเกินไป
หากศัตรูใช้เสบียงอาหารป้อนม้า ฆ่าสิ่งมีชีวิตกิน เก็บอุปกรณ์หุงต้ม และไม่กลับไปยังค่ายพักอีก แสดงว่า “ปล้นเพราะจนตรอก”
หากทัพศัตรูจับกลุ่มรวมกันสุมหัวนินทาวิพากษ์วิจารณ์ แสดงว่าแม่ทัพคนนั้นไม่เป็นที่รักใคร่นิยมของพลทหาร
การที่ทัพศัตรูปูนบำเหน็จแก่ทหารบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
หากทัพข้าศึกสั่งลงโทษพลทหารในกองทัพบ่อยๆ แสดงว่ากำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน
แม่ทัพที่ทำตัวโหดร้ายกับผู้ใต้บังคับบัญชา จากนั้นก็กลับกลัวผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงว่าไม่ฉลาดอย่างมาก
ข้าศึกอาศัยข้ออ้างส่งทูตมาเจรจา แสดงว่าต้องการจะสงบศึก
หากทัพข้าศึกบุกมาอย่างดุร้ายฮึกเหิม แต่กลับไม่ลงมือเสียที ทั้งยังไม่ยกทัพกลับไป จะต้องคะเนแผนการของเขาอย่างระมัดระวังรอบคอบ
สงครามใช่ว่าจำนวนทหารยิ่งมากยิ่งดี ขอเพียงไม่ดูถูกศัตรูบุกเข้าหาโดยประมาท และรวมกำลังเป็นหนึ่งเดียว คาดคะเนความเคลื่อนไหวของศัตรูให้แม่นยำ ก็เพียงพอที่จะชนะศึกแล้ว ผู้ซึ่งไร้แผนการ ไม่มองการณ์ไกล ทั้งยังประมาทศัตรู จะต้องถูกศัตรูจับเป็นเชลยอย่างแน่นอน
หากแม่ทัพสั่งลงโทษทหารในขณะที่ทหารยังไม่สนิทและไว้วางใจแม่ทัพ ทหารผู้นั้นจะต้องไม่ยอมรับนับถือ เช่นนี้ก็จะยากที่จะใช้ให้ทหารผู้นั้นไปรบได้
หากทหารสนิทสนมและยอมรับในความสามารถของแม่ทัพแล้ว ยังไม่ยอมใช้ระเบียบทัพจัดการอีก กองทัพเช่นนี้ก็ไม่อาจทำสงครามได้เช่นกัน
ดังนั้นต้องใช้หลักในการปกครองสั่งสอนทหาร ใช้ระเบียบทัพมาทำให้ความเคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียว กองทัพเช่นนี้จึงจะสามารถชนะศึกได้
แม่ทัพที่ยามปกติจะทำตัวตามระเบียบทัพและสั่งสอนทหารในสังกัดอย่างสม่ำเสมอ ทหารก็จะยอมรับนับถือ
แม่ทัพที่ยามปกติไม่ทำตัวตามระเบียบทัพและไม่สั่งสอนทหารในสังกัด ทหารก็จะไม่ยอมรับนับถือ
ดังนั้น การทำตามระเบียบทัพอย่างเข้มงวด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แม่ทัพและลูกทัพให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
บทที่ ๑๐ ชัยภูมิ
ชัยภูมิแบ่งเป็น ปลอด , ขวาง , ยัน , ปากขวด , ผาชัน , ห่าง
1. ที่ซึ่งเราไปได้ ข้าศึกก็มาได้ เรียกว่า “ปลอด” ชัยภูมิเช่นนี้ เราต้องชิงตำแหน่งซึ่งอยู่ในที่สูงและหันหน้าไปทางทิศเหนือ จากนั้นทำให้เส้นทางขนส่งเสบียงเป็นไปอย่างสะดวกปลอดโปร่ง เช่นนี้ยามชิงชัยกับข้าศึกจึงจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเรา
2. ชัยภูมิซึ่งเส้นทางมีอุปสรรค เข้าไปได้แต่ยากจะถอยกลับได้ เรียกว่า “ขวาง” หากทัพศัตรูไร้การป้องกัน ให้จู่โจมทันทีจะประสบชัย แต่หากศัตรูมีการป้องกันแล้วเราไปจู่จม เราจะไม่อาจเอาชัยได้ เราก็ยากจะถอยได้ จะเป็นผลเสียต่อฝ่ายเรา
3. ชัยภูมิซึ่งทั้งฝ่ายเราและฝ่ายศัตรู ใครลงมือก่อนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เรียกว่า “ยัน” ในชัยภูมิเช่นนี้ ต่อให้ศัตรูพยายามล่อลวงเราอย่างไรก็ห้ามเป็นฝ่ายจู่โจมก่อนเด็ดขาด ทางที่ดีให้แสร้งทำเป็นจะถอยทัพเพื่อล่อให้ศัตรูบุกเข้ามาครึ่งหนึ่ง จากนั้นฝ่ายเราจู่โจมอย่างกะทันหัน จึงจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเรา
4. ชัยภูมิ “ปากขวด” ซึ่งมีทางออกคับแคบ หากเรายึดชัยภูมิได้ก่อน ให้ส่งทหารจำนวนมากอุดจุดซึ่งเป็นปากขวด แต่หากศัตรูยึดจุดที่เป็นปากขวดได้ก่อน ก็อย่าไปจู่โจม หากจุดปากขวดนั้นมีทหารศัตรูเฝ้าอยู่ไม่มาก ให้รีบจู่โจมยึดให้ได้ทันที
5. ชัยภูมิ “ผาชัน” หากเราเข้ายึดได้ก่อนศัตรู ให้ยึดที่สูงหันหน้าไปทางใต้แล้วตั้งค่ายรอจู่โจมข้าศึก หากข้าศึกยึดได้ก่อน ก็ให้ถอยเสีย อย่าไปจู่โจม
6. ในชัยภูมิ “ห่าง” ซึ่งทั้งฝ่ายเราและศัตรูอยู่ห่างกันค่อนข้างมาก กำลังของฝ่ายเราและศัตรูพอๆ กัน ไม่ควรจะไปท้าทาย ฝืนใจรบ จะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายเรา
6 ข้อข้างต้น คือหลักในการใช้ประโยชน์จากชัยภูมิ และเป็นความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งของแม่ทัพ จึงมิอาจไม่พิจารณาอย่างจริงจัง
สภาพการพ่ายแพ้ของกองทัพมี หนี , ขาดระเบียบ , ขาดการฝึกฝน , แตกพ่าย , สับสน , พ่ายยับ
6 ประเภทนี้ล้วนมิได้เกิดจากภัยธรรมชาติทั้งสิ้น แต่เกิดจากความผิดพลาดของแม่ทัพ
1. ในสภาพการณ์ที่ปัจจัยต่างๆ ของฝ่ายเรากับฝ่ายศัตรูมีพอๆ กัน หากไปจู่โจมศัตรูที่มีจำนวนมากกว่าเราสิบเท่าแล้วแพ้ เรียกว่า “หนี”
2. เหตุแห่งการแพ้อันเกิดจากทหารฮึกเหิม แม่ทัพขลาดเขลา เรียกว่า “ขาดระเบียบ”
3. เหตุแห่งการแพ้อันเกิดจากแม่ทัพเก่งกล้าสามารถ แต่ทหารขลาดเขลาอ่อนแอ เรียกว่า “ขาดการฝึกฝน”
4. การพ่ายแพ้อันเกิดจากการที่ พลทหารเดือดดาลไม่เชื่อฟังคำสั่ง เจอกับศัตรูก็บุกเข้าปะทะโดยพลการ ทั้งแม่ทัพเองก็ไม่กระจ่างในความสามารถของลูกทัพแล้วยังไปควบคุมบังคับมากเกินไปจนกองทัพไม่อาจเปล่งประสิทธิภาพได้ เรียกว่า “แตกพ่าย”
5. เหตุแห่งการพ่ายแพ้อันเกิดจากแม่ทัพขลาดเขลาอ่อนแอและขาดพระเดช การฝึกฝนอบรมลูกทัพก็เป็นไปอย่างไม่กระจ่างชัดเจน ทำให้ลูกทัพปฏิบัติตามไม่ถูก การจัดขบวนทัพสับสนไม่เป็นระเบียบ เรียกว่า “สับสน"
6. เหตุแห่งความพ่ายแพ้อันเกิดจากแม่ทัพไม่อาจหยั่งคาดศัตรูได้อย่างถูกต้อง ใช้กำลังน้อยเข้าตีกำลังมาก ทั้งยังไม่มีทหารที่เข็มแข็งเป็นแกนหลัก เรียกว่า “พ่ายยับ”
ชัยภูมิคือสิ่งที่มีส่วนช่วยในการทำศึก หากสามารถคาดคะเนสถานภาพของศัตรูได้อย่างแม่นยำ จากนั้นวางแผนพิชิตชัย ศึกษาสภาพชัยภูมิอย่างละเอียด คำนวณระยะทาง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่แม่ทัพพึงกระทำ
หากแม่ทัพเข้าใจสิ่งเหล่านี้และสามารถนำมาใช้ในการรบได้ จะต้องชนะอย่างแน่นอน แม่ทัพที่ไม่เข้าใจหลักการเหล่านี้อันทำให้ไม่อาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะต้องพ่ายแพ้
ดังนั้น หากคาดคำนวณทุกปัจจัยในสมรภูมิโดยละเอียดแล้วมีความมั่นใจว่าสามารถเอาชนะได้ ต่อให้ราชามีคำสั่งว่าห้ามรบ ก็สามารถยืนกรานจะรบได้ หากคาดคำนวณทุกปัจจัยในสมรภูมิโดยละเอียดแล้วมั่นใจว่าไม่อาจเอาชนะได้แน่ ต่อให้ราชาสั่งให้รบ ก็อย่ารบ
ในฐานะที่เป็นแม่ทัพ ควรไม่ละโมบชื่อเสียงเกียรติยศจากชัยชนะ และไม่หวั่นเกรงภัยจากอาญาเมื่อพ่ายศึก คิดหวังเพียงให้กองทัพและประชาสามารถอยู่รอดปลอดภัย อันจะสอดคล้องต่อผลประโยชน์หลักของราชา แม่ทัพเช่นนี้จึงจะนับว่าเป็นแม่ทัพอันมีค่าของประเทศ
หากแม่ทัพรักปรานีลูกทัพประดุจบุตรรัก ลูกทัพจะยินดีร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพถึงที่สุด แต่หากแม่ทัพปรานีต่อลูกทัพจนถึงขั้นไม่ยอมลงโทษตามระเบียบทัพ ทำให้ลูกน้องไม่เชื่อฟังคำสั่ง ก็เหมือนเลี้ยงลูกให้เสียคน กองทัพเช่นนี้ก็จะไร้ประโยชน์เช่นกัน
รู้แต่ว่าฝ่ายเรามีความสามารถบุกได้โดยไม่เข้าใจว่าสภาพศัตรูในตอนนั้นยังไม่ควรบุก ความเป็นไปได้ที่จะชนะจะมีเพียงครึ่งเดียว
รู้แต่ว่าเราเข้าจู่โจมฝ่ายศัตรูในตอนนี้ได้ แต่ไม่รับรู้ว่าเราในตอนนี้ไม่มีความพร้อมพอจะไปจู่โจมศัตรูได้ ความเป็นไปได้ที่จะชนะก็มีเพียงครึ่งเดียว
ทำความเข้าใจกระจ่างว่าศัตรูในตอนนี้กำลังเหมาะที่เราจะจู่โจม และรู้ว่าความพร้อมของเราในตอนนี้เหมาะจะจู่โจมศัตรู แต่ไม่เข้าใจว่าสภาพชัยภูมิในตอนนั้นไม่เหมาะจะจู่โจมศัตรู ความเป้นไปได้ที่จะชนะก็ยังคงมีเพียงครึ่งเดียวเช่นกัน
ดังนั้น แม่ทัพที่เข้าใจการใช้ทหารอย่างถ่องแท้นั้น ยามเคลื่อนไหวต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แผนการที่ใช้มีการพลิกแพลงได้ไม่สิ้นสุดโดยไม่ยึดตายตัวตามตำราใดๆ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
รู้เขารู้เรา ย่อมชนะ
รู้เวลา รู้ชัยภูมิ ย่อมชนะ
บทที่ ๑๑ เก้าชัยภูมิ
ตามหลักการใช้ทหาร สมรภูมิสามารถแบ่งได้เป็น 9 ชนิด ได้แก่ ที่แบ่ง , ที่เบา , ที่ชิง , ที่ต่อ , ที่เชื่อม , ที่หนัก , ที่ลุ่ม , ที่ล้อม , ที่ตาย
1. หากราชารบกับศัตรูบนดินแดนของตนเอง อันจะทำให้ทหารเป็นห่วงบ้าน จิตใจถูกแบ่งแยก เรียกดินแดนเช่นนี้ว่า “ที่แบ่ง”
2. สมรภูมิที่ล้ำเข้าไปในแดนศัตรูไม่มาก เรียกว่า “ที่เบา”
3. พื้นที่ซึ่งหากเรายึดได้ก่อนจะมีเปรียบแก่เรา หากศัตรูยึดได้ก่อนจะมีเปรียบแก่ศัตรู เรียกว่า “ที่ชิง”
4. พื้นที่ซึ่งทัพเราไปได้ ทัพศัตรูก็มาได้ เรียกว่า“ที่ต่อ”
5. จุดซึ่งแดนเราและแดนศัตรูเชื่อมต่อกับดินแดนอื่น หากใครยึดได้ก่อนก็จะสามารถส่งทูตไปเชื่อมสัมพันธ์กับแดนที่สามให้เกิดพันธมิตรได้ เรียกว่า “ที่เชื่อม”
6. ที่ซึ่งบุกลึกเข้าไปในแดนศัตรูและผ่านเมืองของศัตรูจำนวนมาก เรียกว่า “ที่หนัก”
7. พื้นที่ป่าเขา ภูมิประเทศเปี่ยมอันตราย มีหนองบึงทอดขวางจนยากแก่การสัญจรผ่านได้ เรียกว่า “ที่ลุ่ม”
8. ที่ซึ่งทางเข้าคับแคบ ทางออกคดเคี้ยววกวนและยาวไกล ศัตรูสามารถใช้กองกำลังเพียงหยิบมือพิชิตกองกำลังจำนวนมากของเราได้ เรียกว่า “ที่ล้อม”
9. พื้นที่ซึ่งหากใช้วิธีบุกจู่โจมแบสายฟ้าแลบจะสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ หากไม่จู่โจมแบบสายฟ้าแลบจะถูกพิชิตล่มสลาย เรียกว่า “ที่ตาย” (ทางตัน)
ดังนั้น
ที่แบ่ง ไม่ควรรบ
ที่เบา ไม่ควรหยุดแวะพัก
พบ ที่ชิง ต้องชิงยึดก่อนศัตรูให้ได้ หากศัตรูยึดได้ก่อน อย่าฝืนบุก
ถึง ที่ต่อ แต่ละกลุ่มกองรวมตัวกันให้แน่นหนา เพื่อป้องกันศัตรูจู่โจมตัดแยกกองทัพเป็นส่วนๆ
ถึง ที่เชื่อม ต้องเชื่อมไมตรีกับแคว้นเพื่อนบ้าน
ถึง ที่หนัก ต้องรีบชิงปัจจัยจำเป็นต่างๆเพื่อเสริมให้กองทัพฝ่ายเรา
ใน ที่ลุ่ม ควรรีบผ่านไปโดยเร็ว
ใน ที่ล้อม ควรใช้แผนการอันเลิศล้ำรับมือ
ใน ที่ตาย ควรดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อความอยู่รอด
ในอดีต ผู้เชี่ยวชาญการใช้ทหารนั้น สามารถทำให้หัวท้ายทัพศัตรูไม่อาจคำนึงถึงกันได้ กองใหญ่และกองย่อยไม่อาจหนุนเสริมพึงพากันและกันได้ แม่ทัพไม่อาจช่วยเหลืออะไรได้ แม่ทัพกับลูกทัพถูกตัดขาดกันโดยสิ้นเชิงโดยไม่อาจกอบ***้ ทหารแตกพ่ายโดยไม่อาจรวมตัวติด แม้จะรวมตัวติดได้ในที่สุดก็ไม่เป็นระเบียบ หากรู้ว่าตั้งประจันต่อไปจะได้ประโยชน์ก็จะตั้งประจันต่อไป หากรู้ว่าไร้ประโยชน์ก็จะหยุด
ขอถาม “หากกองทัพศัตรูมากมายมหาศาลทั้งยังจัดตั้งขบวนทัพอย่างเป็นระเบียบบุกเข้าหาเรา เราควรจะทำอย่างไร?”
คำตอบคือ “ให้ชิงตีจุดสำคัญของศัตรู เช่นนี้ศัตรูก็จะถูกบังคับให้เคลื่อนขบวนตามการควบคุมของเรา
หลักการใช้ทหาร เน้นหนักที่รวดเร็วเลิศล้ำ ฉวยโอกาสที่ศัตรูยังไม่ทันลงมือ เดินในเส้นทางที่ศัตรูหยั่งคาดไม่ถึง จู่โจมจุดที่ศัตรูไม่ทันระวัง
หลักในการบุกเข้ารบในดินแดนของศัตรู
หากบุกลึกเข้าแดนศัตรูมาก กำลังใจทหารจะรวมเป็นหนึ่ง ทัพศัตรูจะไม่อาจเอาชัยเราได้
แย่งชิงเสบียงในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ หยุดพักสามทัพเพื่อบำรุงกำลัง
บำรุงเลี้ยงดูทหารอย่างดี อย่าให้ต้องเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย จากนั้นกระตุ้นความฮึกเหิม สะสมพละกำลังไว้
ใช้ทหารอย่างมีเหตุผล วางแผนรบอย่างล้ำเลิศ ให้ศัตรูมิอาจสืบทราบได้
ซุนจื่อกล่าวว่า
การสงครามคือเรื่องใหญ่ของประเทศชาติ เกี่ยวพันถึงความเป็นความตายของประเทศ จึงมิอาจไม่ทำการศึกษาอย่างละเอียด
ดังนั้น การพิเคราะห์ที่มาแห่งผลแพ้ชนะประกอบด้วย 5 ประการ 1. เหตุผล 2. สภาพอากาศ 3. พื้นที่ 4. ขุนพล 5. กฎหมาย
1. เหตุผล คือ การทำให้ความต้องการของราชาและประชาเป็นหนึ่งเดียว เช่นนี้ประชาจึงจะยินยอมทุ่มเทแรงกายและแรงใจถวายชีวิตเพื่อราชาในการสงครามได้
2. สภาพอากาศ คือ กลางวันและกลางคืน ฝนตกและฟ้าแจ้ง หนาวยะเยือก ร้อนระอุ สี่ฤดูหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยน
3. พื้นที่ คือ ระยะทางใกล้ไกล ชัยภูมิอันตรายหรือราบเรียบ ชัยภูมิเป็นที่แคบหรือที่กว้าง สภาพพื้นที่ง่ายต่อการรุกรับ บุกและถอยหรือไม่
4. ขุนพล คือ พรสวรรค์ในการวางแผนการรบและการรบของขุนพล บำเหน็จและลงโทษอย่างมีเหตุผลชัดเจนเสมอภาค รักใคร่เมตตาต่อพลทหารในบังคับบัญชา มีความกล้าหาญและเด็ดขาด รักษาระเบียบวินัยในกองทัพอย่างเข้มงวด
5. กฎหมาย หมายถึง การกำหนดระบบการจัดระเบียบทัพ การปกครองทหารในกองทัพและการแบ่งหน้าที่ การแบ่งปันเสบียงอาหารและการบริหารเสบียงกรัง
5 ข้อข้างต้นที่กล่าวมานี้ ไม่มีขุนพลคนใดไม่ทราบ แต่มีเพียงทำความเข้าใจกับมันอย่างลึกซึ้งและควบคุมมันได้เป็นอย่างดีเท่านั้นจึงจะสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ในการนำชัยได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัย 7 ข้อดังนั้นมาเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในการชนะสงคราม
1. ราชาแห่งแคว้นใดมีปรีชาสามารถกว่ากัน?
2. แม่ทัพแคว้นใดเปรื่องปราดสามารถกว่ากัน?
3. ทัพแคว้นใดยึดชัยภูมิที่มีเปรียบในช่วงเวลาที่มีเปรียบกว่ากัน?
4. กฎระเบียบในกองทัพของแคว้นใดเป็นไปอย่างเข้มงวดทั่วถึงและมีประสิทธิภาพกว่ากัน?
5. กำลังพลของแคว้นใดเหนือกว่ากัน?
6. ทหารของทัพใดฝึกฝนมามากกว่ากัน?
7. ฝ่ายใดมีการปูนบำเหน็จและลงโทษอย่างชัดเจนยุติธรรมกว่ากัน?
การทหารเปี่ยมอุบาย ดังนั้น
จะจู่โจมแสร้งทำเป็นจะไม่จู่โจม หรือไม่อาจจู่โจม
จะตีที่ใกล้แต่แสร้งทำเป็นจะตีที่ไกล
สำหรับศัตรูที่โลภ ให้ใช้ผลประโยชน์เล็กน้อยเข้าล่อ
กับศัตรูที่กำลังสับสนรวนเร ควรฉวยโอกาสจู่โจม
กับศัตรูเข้มแข็งพอตัว ควรเพิ่มการป้องกันเป็นเท่าตัว
กับศัตรูที่แข็งแกร่งมาก ควรหลบเลี่ยงการปะทะไปก่อน
กับศัตรูที่ขี้โมโห ให้ยั่วให้เขาโกรธเพื่อที่เขาจะได้ประมาท
กับศัตรูที่ดูถูกเรา ให้หลอกตบตาให้มันยิ่งตายใจดูถูกเรายิ่งขึ้น
กับศัตรูที่มีการเตรียมพร้อม ให้ตอดเล็กตอดน้อยให้เขาล้ากับการรับมือเรา
กับศัตรูที่ภายในมีการปรองดองกันดี ต้องพยายามยุแหย่ให้แตกกัน
ต้องจู่โจมยามข้าศึกไม่ทันระวังตั้งตัว
ต้องเคลื่อนไหวโดยศัตรูมิอาจหยั่งคาด
บทที่ ๒ การทำสงคราม
อันการยกทัพออกรบ สร้างรถศึก 1,000 คัน รถเสบียง 1,000 คัน ทหารหนึ่งแสน ยังต้องบรรทุกเสบียงไปพันลี้ เช่นนี้ ค่าใช้จ่ายของแนวหน้าและแนวหลัง ค่าใช้จ่ายของราชทูตที่ต้องเดินทางไปมา อุปกรณ์การรบและอื่นๆ รวมถึงอาวุธชุดเกราะสำรองสำหรับกองทัพ แต่ละวันต้องจ่ายพันตำลึงทอง กองทหารขนาดหนึ่งแสนนายจึงจะสามารถเคลื่อนทัพได้
ผู้ซึ่งยกทัพขนาดมหาศาลเช่นนี้แล้วหวังจะกำชัยชนะโดยเร็ว การเดินทัพออกรบเป็นเวลานานจะทำให้ทหารอ่อนเพลียเหนื่อยล้า กำลังใจรบถดถอย การจะตีเมืองก็จะต้องเสียเวลาและพลกำลังเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
การให้ทหารออกไปรบเป็นเวลานานจะทำให้การเงินของประเทศติดขัด ทหารอ่อนพลีย กำลังใจรบถดถอย สูญเสียสมรรถภาพกองทัพ เศรษฐกิจทรุดหนัก เมื่อนั้น แคว้นอื่นก็จะฉวยโอกาสพิชิตเราได้ หากเป็นเช่นนั้น แม้จะมีผู้นำทัพที่เก่งกาจก็ไม่อาจช่วย***้สถานการณ์ได้
ดังนั้น ผู้ซึ่งไม่รู้ข้อเสียของการยกทัพจับศึก ย่อมไม่มีทางทราบข้อดีของการรบ
ผู้เชี่ยวชาญการศึก จะไม่เกณฑ์ทหารหลายครั้ง และไม่ขนเสบียงทัพไปมากเกินจำเป็น อาวุธทั้งมวลได้จากในประเทศ ส่วนเสบียงหาเอาจากแดนศัตรู เช่นนี้ก็จะสามารถตัดปัญหาเรื่องเสบียงไปได้
สาเหตุสำคัญที่ประเทศยากจนเพราะการสงครามคือการยกทัพไปรบยังแดนไกลและขนส่งทางไกลเป็นสาเหตุสำคัญ การขนส่งทางไกลจะทำให้ชาวบ้านยากจน ที่ซึ่งอยู่ใกล้เขตตั้งทัพข้าวของจะมีราคาสูงลิบ ข้าวของแพงลิบทำให้ประชาชนยากจน
เมื่อท้องพระคลังว่างเปล่าเพราะทำสงครามประเทศก็ต้องเร่งเพิ่มภาษีเป็นการด่วน
สมรรถภาพกองทัพเสื่อมสูญ ทรัพย์สินแห้งเหือด ชาวประชาต่างยากจนกันถ้วนหน้า สูญทรัพย์ไปกว่าเจ็ดส่วน ท้องพระคลังเอง เนื่องจากรถศึกชำรุดเสียหาย ม้าศึกอ่อนเปลี้ยล้มป่วย อาวุธยุทโธปกรณ์ชำรุดเสียหาย รถบรรทุกเสบียงชำรุดผุพัง สูญเสียไปหกส่วน
ดังนั้นแม่ทัพที่ชาญฉลาดจะหาทางแก้ปัญหาเรื่องเสบียงในดินแดนของศัตรู เสบียงที่หาได้ในแดนศัตรูหนึ่งส่วนมีค่าเท่ากับเสบียงที่ขนส่งจากแดนของตนยี่สิบส่วน
ดังนั้น หากต้องการให้ทหารห้าวหาญในการรบกับศัตรู ก็ต้องกระตุ้นให้พวกเขาโกรธแค้นศัตรู หากต้องการแย่งชิงสมบัติของศัตรู ก็ต้องใช้สมบัตินั้นล่อใจทหาร ดังนั้นหากชิงรถศึกมาได้สิบคันขึ้นไป จะต้องปูนบำเหน็จแก่ทหารที่เป็นผู้ชิงรถศึกนั้นมาได้เป็นคนแรก จากนั้นเปลี่ยนธงรบแล้วนำมาปะปนเป็นรถศึกของฝ่ายตน กับเชลยศึกที่จับตัวมาได้ต้องปฏิบัติด้วยอย่างดี นี่คือสิ่งที่เรียกว่า
สยบศัตรูพร้อมกับทำให้ฝ่ายตนแข็งแกร่งขึ้น
ดังนั้นหากอยากชนะศึกโดยเร็ว ไม่ควรคิดถ่วงเวลาในการทำศึกให้ยืดเยื้อออกไป
บทที่ ๓ วางแผนจู่โจม
หลักการใช้ทหารนั้น...
ทำให้ประเทศอธิราชยอมแพ้โดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร ถือเป็นแผนการอันเลิศล้ำที่สุด
หากเอาชนะได้สำเร็จโดยการยกทัพไปตีประเทศอธิราช คือแผนที่ดีรองลงมา
การทำให้กองทัพศัตรูยอมสยบโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่คนเดียว คือแผนการอันล้ำเลิศ
หากทำให้สยบได้ด้วยการใช้กำลังตีทัพศัตรูแตกพ่าย คือแผนการที่ดีรองลงมา
ดังนั้น ร้อยรบร้อยชัย มิได้เลิศล้ำที่สุด การเอาชนะศัตรูได้โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อต่างหาก จึงนับว่าเลิศล้ำที่สุด
ดังนั้น แผนอันเลิศล้ำที่สุดคือใช้กลอุบายเอาชนะข้าศึก
รองลงไปคือใช้การทูตเอาชนะข้าศึก
รองลงไปอีกคือใช้กำลังทหารเอาชนะข้าศึก
แผนอันเลวที่สุดคือการตีชิงยึดเมือง
การยึดเมืองถือเป็นแผนสุดท้ายที่เมื่อไม่มีแผนอื่นเหลือให้ใช้แล้วจึงค่อยกระทำ
การสร้างโล่ใหญ่และรถศึกสี่ล้อ ตระเตรียมอาวุธ ต้องใช้เวลาสามเดือน
การสร้างเนินดินสำหรับจับตาดูความเคลื่อนไหวของข้าศึกภาพในเมืองเพื่อจะตีชิงเมือง ก็ต้องใช้เวลาสามเดือน
เวลาที่ถูกทอดยาวจะทำให้แม่ทัพเดือดดาลร้อนใจ และเร่งเร้าให้ทหารฮือเข้าไปตีเมืองดุจฝูงมด ทหารต้องตายไปหนึ่งในสาม แต่ยังคงตีเมืองไม่ได้ นี่เองคือข้อเสียของการที่ต้องตีชิงเมือง
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญกลศึก จะสามารถสยบทัพข้าศึกได้โดยไม่ต้องประจัญบาน ยึดครองเมืองของข้าศึกได้โดยไม่ต้องโหมปะทะตรงๆ ทำให้ประเทศของศัตรูล่มสลายได้โดยไม่ต้องยกทัพไปตีเป็นเวลานาน
ควรใช้กลอุบายที่ทำให้มั่นใจว่าจะชนะแน่นอนในการเอาชัยชิงแผ่นดิน เพื่อที่กองทัพจักได้ไม่เหนื่อยล้าต่อการศึกจนเสียการ และสามารถคว้าชัยชนะมาได้โดยสมบูรณ์ นี่เองคือหลักแห่งกลศึก
ดังนั้น ในการรบ
หากเรามีกองกำลังมากกว่าศัตรู 10 เท่า ให้ใช้วิธีโอบล้อมจาก 4 ด้านให้ศัตรูยอมสยบ
หากมีกำลังพลมากกว่าศัตรู 5 เท่า ให้จู่โจมศัตรู
หากมีกำลังมากกว่าศัตรู 1 เท่า ให้คิดแผนแบ่งแยกกำลังของศัตรูออกแล้วจู่โจมไปทีละกอง
หากกองกำลังของฝ่ายเราพอๆ กับศัตรู ต้องวางแผนหาทางเอาชัยให้ดีๆ
หากกองกำลังของเราน้อยกว่าศัตรู ต้องพยายามสลัดข้าศึกให้หลุด
หากปัจจัยทุกด้านของเราล้วนด้อยกว่าศัตรู ให้พยายามหาทางหลีกเลี่ยงการปะทะ
แม่ทัพคือผู้ช่วยของประเทศ หากช่วยเหลือได้รัดกุมรอบคอบ ประเทศก็จะเจริญแข็งแกร่ง หากช่วยเหลือไม่ดี ประเทศก็จะอ่อนแอ
ราชาจะสามารถทำร้ายกองทัพได้ด้วยเหตุผล 3 ประการ
1. ไม่เข้าใจว่ากองทัพจะบุกรุดหน้าไม่ได้แล้วกลับสั่งให้บุกรุดหน้า ไม่เข้าใจว่ากองทัพไม่อาจถอยได้แล้วกลับสั่งให้ถอย นี่เรียกว่าผูกมัดจำกัดความเคลื่อนไหวของกองทัพ
2. ไม่เข้าใจการบริหารภายในของกองทัพแล้วกลับยื่นมือเข้าแทรกแซง ทหารทั้งกองทัพจะงุนงงในกฎของทัพอันไม่เป็นหนึ่งเดียว
3. ไม่รู้กลศึกแต่กลับแทรกแซงการบังคับบัญชาของกองทัพ ทั้งแม่ทัพนายกองและพลทหารจะเกิดความอึดอัดไม่มั่นใจ
ในเมื่อกองทัพทั้งสับสนและอึดอัดมึนงงไม่มั่นใจ ก็จะเป็นสร้างสร้างโอกาสให้แคว้นอื่นฉกฉวยช่องว่างนี้เข้าจู่โจม นี่คือที่กล่าวกันว่าทำลายกองทัพของตัวเอง
ดังนั้น 5 ข้อต่อไปนี้จะทำให้ทำนายได้ว่าจะชนะหรือไม่
1. ทราบว่าเมื่อใดควรรบเมื่อใดไม่ควรรบ
2. สามารถพลิกแพลงใช้กลศึกตามจำนวนทหารที่มีได้เป็นอย่างดี
3. ทหารทั้งกองทัพสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันและสู้ถวายชีวิต
4. เตรียมตัวมาพร้อมเพื่อจะไปเผชิญหน้าอีกฝ่ายที่เตรียมตัวมาไม่พร้อม
5. แม่ทัพมีความสามารถในการนำทัพสูงเยี่ยมและราชาไม่แทรกแซงกิจการในกองทัพ
ดังนั้นจึงกล่าวว่า
รู้เขารู้เรา ร้อยรบไร้พ่าย
ไม่รู้เขารู้เรา จะชนะครึ่งหนึ่ง
ไม่รู้เขาไม่รู้เรา จะแพ้ทุกศึก
บทที่ ๔ สภาพ
นับแต่อดีตมา ผู้เชี่ยวชาญการทหาร จะสร้างปัจจัยอันได้เปรียบแก่ฝ่ายตนก่อน เพื่อให้ฝ่ายตนไม่แพ้ข้าศึก จากนั้นเสาะหาและรอคอยช่วงเวลาที่ข้าศึกมีโอกาสจะโดนเราตีพ่ายได้
การทำให้ฝ่ายตนไร้จุดอ่อนให้จู่โจมและมีโอกาสคว้าใจ เป็นการกระทำของฝ่ายตนเอง
การที่มีโอกาสเอาชัยข้าศึกได้ อยู่ที่ข้าศึกเผยช่องโหว่
ดังนั้นผู้ที่เก่งกาจด้านการทหารจะสามารถทำให้ฝ่ายตนไม่ถูกเอาชัยได้ แต่ไม่อาจทำให้ฝ่ายศัตรูตกอยู่ในสภาพที่จะถูกฝ่ายเราพิชิตได้
ดังนั้น ชัยชนะนั้นสามารถคาดการณ์ได้ แต่หากศัตรูไร้ช่องโหว่ให้ฉกฉวย เราก็ไม่อาจมั่นใจได้เช่นกันว่าจะชนะ
เมื่อเราอยู่ในฐานะที่ไม่อาจเอาชัยศัตรูได้ จงทำการป้องกัน
หากอยู่ในฐานะที่สามารถเอาชัยศัตรูได้ ให้ดำเนินการบุก
การตั้งรับนั้นเนื่องมาอยากปัจจัยที่จะคว้าชัยยังมีไม่มากพอ
การเป็นฝ่ายบุกนั้นเนื่องจากปัจจัยในการคว้าชัยมีเหลือเฟือ
ผู้ชำนาญการตั้งรับ จะสามารถปกปิดความเคลื่อนไหวของตนได้ดุจซ่อนกายอยู่ใต้ดิน ทำให้ข้าศึกไม่อาจหยั่งเห็นได้
ผู้เชี่ยวชาญการจู่โจม ความเคลื่อนไหวจะลึกล้ำสุดหยั่งคาด ทำให้ศัตรูมิอาจป้องกันได้
ดังนั้น จึงสามารถทั้งรักษาตนให้รอดปลอดภัยและเอาชัยข้าศึกได้โดยสมบูรณ์
หลักการใช้ทหาร 1. คือ วัด 2. คือ ตวง 3. คือ นับ 4. คือ ชั่ง 5. คือชัย
วัด สังเกตพื้นที่ว่าเปี่ยมอันตราย กว้างแคบ เป็นที่เป็นหรือที่ตาย จากนั้นคาดคะเนความสามารถในการรองรับทหารของพื้นที่นั้นๆ ว่าจะสามารถรองรับทหารของทั้งสองฝ่ายได้เท่าไร จากนั้นมาคาดคะเนว่าฝ่ายเราควรจะส่งทหารไปยังพื้นที่นั้นเท่าไร และใช้การนี้คำนวณผลแพ้ชนะ ดังนั้น ผู้ที่จะแพ้พ่ายคือผู้ที่คำนวณผิดพลาด
บทที่ ๕ อานุภาพ
การจะปกครองกองทัพใหญ่ก็เหมือนการปกครองกองทัพย่อย นั่นคือต้องแบ่งแยกเป็นกลุ่มกอง
การจะบังคับบัญชาคนจำนวนมาก ก็เหมือนบังคับบัญชาคนจำนวนน้อย นั่นคือต้องตั้งรหัสสัญลักษณ์ที่จะใช้เป็นสัญญาณและทำให้สัญญาณเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปทั่วถึง และได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
จะทำให้กองทัพของประเทศไม่ถึงกับแตกพ่ายเมื่อถูกศัตรูบุกจู่โจมอย่างกะทันหัน ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ “กำลังหลักและกำลังสำรอง”
การจะทำให้ยามกองทัพจู่โจมข้าศึก เป็นประดุจใช้หินกระทบไข่ ไร้ผู้ต่อต้าน ขึ้นอยู่กับการใช้ “จริงและเท็จ”
ปกติการทำสงครามนั้น มักใช้กำลังหลักเผชิญหน้ากับศัตรู และใช้กำลังสำรองเอาชัย ดังนั้น แม่ทัพที่เชี่ยวชาญการใช้กำลังสำรองชนะศึก ความสามารถในการพลิกแพลงใช้ทหารของเขาจะต้องเป็นประดุจเทวดา มากมายไม่สิ้นสุด เป็นประดุจแม่น้ำหลั่งไหลไม่ขาดตอน หมดแล้วมีใหม่ไม่เคยแห้งเหือด ดุจตะวันจันทราสลับสับเปลี่ยน
น้ำเชี่ยวสามารถเคลื่อนศิลา เป็นเพราะกระแสน้ำไหลแรง วิหคร้ายสามารถปลิดชีพเหยื่อได้ในคราเดียว เนื่องจากจังหวะและความเร็วในการจู่โจม
ดังนั้น เวลาแม่ทัพที่ฉลาดออกศึก จะต้องสร้างจังหวะจู่โจมของฝ่ายตนในรูปแบบรวดเร็ว ฉับไว และดุดัน อานุภาพเช่นนี้ประดุจเกาทัณฑ์น้าวสุดสาย จังหวะเช่นนี้ ประดุจสะกิดปล่อยหน้าไม้
ขณะที่ต้องรบในสถานการณ์สับสน ต้องทำให้กองทัพของตนไม่สับสนรวนเร ต้องยังสามารถบังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกหมู่เหล่า เพื่อให้ศัตรูไม่มีช่องว่างให้ฉกฉวย
ความสับสนรวนเรของกองทัพนั้นเกิดจากการบังคับบัญชา
ความขลาดเขลานั้นก็เกิดจากใช้ความกล้าหาญไม่ถูกทาง
ความอ่อนแอเกิดจากการใช้ความเข้มแข็งไม่ถูกทาง
ความสับสนรวนเรเกิดจากการบังคับบัญชาที่หย่อนประสิทธิภาพ
ความขลาดเขลาของทหารเกิดจากการใช้ทหารผิดหน้าที่และความชำนาญ
ความอ่อนแอของกองทัพเกิดจากกำลังพลและการเตรียมพร้อมไม่มากพอ
ดังนั้น หากแม่ทัพที่เก่งกาจใช้หลักการเหล่านี้หลอกตบตาศัตรู ศัตรูจะถูกตบตาอย่างแน่นอน
หากเอาผลประโยชน์เข้าล่อศัตรู ศัตรูจะต้องหลงกลอย่างแน่นอน
ใช้กำลังพลที่อ่อนแอตบตาศัตรูว่าฝ่ายตนอ่อนแอ เพื่อล่อให้ศัตรูตกเข้าสู่หลุมพรางของทหารฝ่ายตนที่ดักซุ่มอยู่
ดังนั้น แม่ทัพผู้เก่งกาจ จะต้องมุ่งความสนใจไปยัง “การใช้ทหารให้เหมาะสมกับความสามารถ” โดยไม่คาดหวังให้ทหารทำอย่างที่ตนต้องการไปทุกอย่าง ดังนั้น เขาจึงสามารถเลือกให้บุคลากรได้อย่างเหมาะสม
ผู้เชี่ยวชาญการใช้คนนั้น เวลาบังคับบัญชาการรบ จะเป็นเหมือนเคลื่อนขยับก้อนหินหรือท่อนซุง ก้อนหินหรือท่อนซุงนั้น มีคุณลักษณะที่ จะตั้งอยู่อย่างมั่นคงบนพื้นราบ และเคลื่อนไหวง่ายในที่ชัน ไม้หรือหินทรงสี่เหลี่ยมจะวางได้มั่นคง ไม้หรือหินทรงกลมจะเคลื่อนที่ได้ง่าย
ดังนั้นแม่ทัพที่บังคับบัญชาเก่งๆ จะพยายามสร้างความได้เปรียบให้ฝ่ายตน เหมือนปล่อยหินกลมให้กลิ้งลงมาจากยอดเขาสูงลิบ ใครก็มิอาจต้านทานได้ นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า “อานุภาพ”
บทที่ ๖ จริงเท็จ
ผู้ไปถึงสมรภูมก่อนและรอให้ศัตรูมาถึง จะเป็นฝ่ายบุกจู่โจมและได้เปรียบ ผู้ไปถึงสมรภูมิทีหลังจะอ่อนเพลียเหนื่อยล้า และเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญการศึกจะเป็นฝ่ายควบคุมศัตรูมิใช่ถูกศัตรูควบคุม
การที่จะสามารถล่อศัตรูมาติดกับ ต้องอาศัยผลประโยชน์ส่วนน้อย (ส่งกองทหารกองเล็กๆ ไปล่อ)
การจะทำให้ศัตรูไม่กล้าคืบหน้าบุกเข้ามา ต้องใช้วิธีข่มขู่
หากศัตรูเตรียมตัวมาพร้อม ต้องหาทางทำให้เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า
หากศัตรูเตรียมเสบียงมาพร้อม ให้หาทางทำให้ต้องอดโซ
ศัตรูตั้งมั่นไม่ขยับ ต้องหาทางทำให้ศัตรูขยับ
การจู่โจมต้องมุ่งเน้นไปยังจุดที่ศัตรูไม่อาจเร่งรุดไปช่วยเหลือหนุนเสริมได้ทัน
ยามเคลื่อนทัพต้องเคลื่อนในเส้นทางที่ศัตรูไม่อาจหยั่งคาด
การเดินทัพนับพันลี้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย เป็นเพราะเดินอยู่ในดินแดนที่ไร้ข้าศึก หรือดินแดนที่ข้าศึกป้องกันไม่เหนียวแน่น
การจู่โจมที่จะประสบผลแน่นอน ต้องจู่โจมจุดที่ศัตรูไม่ทันระวัง หรือไม่อาจระวังป้องกันได้
การป้องกันอันเหนียวแน่น เนื่องจากป้องกันจุดที่ศัตรูไม่กล้าจู่โจมหรือยากจะจู่โจมได้
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญการจู่โจมจะจู่โจมในแบบที่ทำให้ศัตรูไม่ทราบจะป้องกันอย่างไรดี และผู้เชี่ยวชาญการป้องกันคือผู้ที่สามารถทำให้ศัตรูไม่ทราบจะจู่โจมอย่างไรดี
การกระทำต้องยอดเยี่ยมเลิศล้ำถึงขั้นไร้ร่องรอยให้สืบสาว ไร้สุ้มเสียงให้จับได้
ยามบุก ศัตรูมิอาจต้าน เพราะบุกสู่จุดที่การป้องกันของศัตรูเปราะบาง
ยามถอย ศัตรูมิอาจติดตามทัน เพราะความเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างรวดเร็วฉับไว
ดังนั้น หากข้าจะบุก แม้ศัตรูจะตั้งรับอยู่หลังกำแพงอันมั่นคง ก็ยังต้องยกทัพออกมาประจันหน้า เพราะข้าเลือกจู่โจมจุดที่ศัตรูจำเป็นต้องป้องกัน
หากข้าไม่คิดประจันหน้า ต่อให้ศัตรูทำอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ข้าออกประจันหน้าด้วยได้ เพราะข้าได้ใช้วิธีเปลี่ยนแปลงเส้นทางบุกของศัตรู
ดังนั้น ต้องใช้สิ่งที่แสดงออกหลอกตบตาศัตรูให้เผยความประสงค์ออกมา ส่วนฝ่ายตนไม่เผยร่องรอยออกไป ทำให้ศัตรูไม่อาจหยั่งคาดฝ่ายเราได้ ก็จะสามารถทำให้กำลังของฝ่ายเรารวมตัวแข็งแกร่งในขณะที่กองกำลังของศัตรูแยกย้ายกระจัดกระจาย
กองกำลังของฝ่ายเรารวมกันอยู่ยังจุดหนึ่ง ส่วนกำลังของศัตรูแยกย้ายกระจายอยู่สิบแห่ง เช่นนี้เราก็จะสามารถใช้วิธีอาศัยกำลังที่มากกว่าศัตรูสิบเท่าจู่โจมศัตรูไปทีละกลุ่ม
อย่าให้ศัตรูทราบจุดที่เราจะจู่โจม เมื่อศัตรูไม่รู้ ก็จะต้องวางกำลังป้องกันไว้ทุกจุด ยิ่งศัตรูกระจายกำลังไว้มากจุด กำลังหลักก็จะยิ่งแตกกระจายไม่รวมตัว เราก็จะสามารถลดจำนวนศัตรูที่ต้องจู่โจมลงไปได้มาก
ดังนั้น หากระมัดระวังป้องกันด้านหน้าเป็นพิเศษ ด้านหลังกำลังป้องกันจะค่อนข้างอ่อนแอ
ระวังป้องกันปีกซ้าย ปีกขวาก็จะอ่อนแอ
หากป้องกันทุกด้าน กำลังทุกจุดก็จะอ่อนแอ
การที่กำลังพลน้อย ก็เนื่องจากเราบีบให้ศัตรูต้องป้องกันเราไปเสียทุกจุด
กำลังข้าศึกมีมาก ก็เนื่องจากเราบีบให้ศัตรูจำต้องแบ่งทหารมาป้องกันเรา
ดังนั้น หากสามารถคะเนสถานที่และเวลาอันจะประจันกับข้าศึกได้ล่วงหน้า เช่นนี้ แม้จะเดินทางมาเป็นพันลี้ ก็ยังสามารถประจันกับข้าศึกได้
แต่หากไม่อาจทราบทั้งเวลาและสถานที่ที่จะปะทะกันล่วงหน้าได้ ก็จะเกิดสภาพ ปีกซ้ายไม่อาจช่วยปีกขวา กองหน้าไม่อาจช่วยกองหลัง อย่าว่าแต่ละกองทัพอยู่ห่างกันมากถึงหลายสิบลี้ ต่อให้อยู่ใกล้กันก็ยังห่างกันหลายลี้
ดังนั้น แม้ศัตรูจะมีกองกำลังมากกว่า เราก็ยังมีทางทำให้เขาไม่อาจใช้กองกำลังทั้งหมดมาจัดการเราได้พร้อมกัน
จงวิเคราะห์แลคาดคะเนอย่างจริงจัง เพื่อหยั่งจุดเด่นจุดด้อยในกลศึกของศัตรู
หาทางล่อลวงศัตรูเพื่อทำความเข้าใจต่อรูปแบบการจัดทัพและระเบียบทัพของศัตรู
ใช้ความเคลื่อนไหวลวงศัตรู เพื่อหยั่งทราบจุดเด่นจุดด้อยของชัยภูมิที่ศัตรูใช้
ใช้การสอดแนมเพื่อสืบทราบจำนวนทหารและความสามารถของทหารฝ่ายศัตรู
ดังนั้น หากสามารถใช้แผนลวงได้เลิศล้ำถึงขีดสุด จะสามารถทำให้ศัตรูไม่อาจหยั่งคาดความเคลื่อนไหวของเราได้แม้แต่น้อย เช่นนี้ แม้จะมีไส้ศึกแทรกซึมปะปน ก็ไม่อาจหยั่งทราบความเคลื่อนไหวของเราว่าใดจริงใดเท็จได้
แม้จะเป็นผู้ชาญฉลาดเลอเลิศ ก็ไม่อาจนึกหาวิธีรับมือเราได้
แม้จะใช้กลศึกอันพลิกผันเปลี่ยนแปลงตามความเคลื่อนไหวของศัตรูแล้วคว้าชัยมาได้ต่อหน้าทุกคน ทุกคนก็ยังดูไม่ออก ทุกคนต่างทราบเพียงวิธีเอาชนะแบบธรรมดาของข้า แต่ต่างไม่ทราบว่าข้าใช้วิธีใดพลิกแพลงตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของศัตรูและเอาชนะศัตรูได้
ดังนั้น ทุกครั้งที่ออกรบ ล้วนไม่เคยใช้วิธีซ้ำกัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามความเคลื่อนไหวแต่ละครั้งของข้าศึกทั้งสิ้นไม่รู้จบ
การใช้ทหารเปรียบดั่งน้ำ น้ำจะไม่ไหลขึ้นที่สูง แต่จะไหลลงที่ต่ำเสมอ
การรบก็เช่นกัน จะต้องหลีกเลี่ยงจุดที่ศัตรูป้องกันเข้มแข็ง แต่จู่โจมจุดที่ศัตรูป้องกันเปราะบาง
น้ำจะไหลเร็วช้าตามความสูงที่แตกต่างกัน การทหารก็เช่นกัน จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของศัตรูโดยไม่ซ้ำแบบ ดังนั้นจึงไม่มีรูปแบบใดที่แน่นอน ดุจสายน้ำไม่เคยคงรูป
หากสามารถพลิกแพลงตามความเคลื่อนไหวของศัตรูแล้วคว้าชัยได้ จึงนับว่าใช้ทหารได้ดุจเทพยดา
หลักในการใช้ทหารก็เหมือนหลักธรรมชาติทั้ง 5 นั่นคือ ธาตุทั้ง 5 หนุนเสริมและสะกดข่มซึ่งกันและกัน 4 ฤดูหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันตามลำดับ กลางวันมีสั้นมียาว พระจันทร์มีกลมมีเว้า เปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด
บทที่ ๗ การแย่งชิงชัยภูมิ
หลักการใช้ทหาร แม่ทัพรับบัญชาจากราชา เกณฑ์พลเรือนเป็นกองทหาร เคลื่อนขบวนสู่แนวหน้าประจันกับศัตรู ในระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ สิ่งที่ยากลำบากที่สุดไม่มีใดกินแย่งชิงปัจจัยที่จะทำให้ได้ชัยกับศัตรู
จุดที่ยากที่สุดในการแย่งชิง คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเดินผ่านเส้นทางคดเคี้ยวยาวไกลเพื่อบรรลุจุดหมายอันอยู่ใกล้ แปรเสียเปรียบเป็นได้เปรียบ จงใจเดินทางอ้อม และใช้ผลประโยชน์ส่วนน้อยล่อศัตรูให้มาถึงช้ากว่า เช่นนี้ก็จะสามารถบรรลุจุดประสงค์ ออกเดินทางทีหลังแต่บรรลุจุดหมายก่อนศัตรูได้
นี่คือที่เรียกว่ารู้จักใช้แผน “ใช้ทางอ้อมเพื่อทางลัด”
การแย่งชิงชัยภูมิมีประโยชน์มีมีภัย หากกองทัพบรรทุกอุปกรณ์จำเป็นในการเดินทัพทั้งหมดไปแย่งชิงชัยภูมิ ก็จะทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าและไปถึงที่หมายไม่ทัน หากไม่นำเสบียงไปด้วย ก็จะขาดแคลนเสบียง ดังนั้น กองทัพที่รีบเร่งเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนโดยไม่หยุดพัก เพื่อเร่งเดินทางให้เร็วเป็นเท่าตัว
หากเดินทางไปชิงชัยภูมิเป็นระยะทางร้อยลี้ แม่ทัพทั้งสามเหล่าทัพจะมีโอกาสถูกจับสูง ทหารหนุ่มที่ยังแข็งแรงเดินทางไปถึงก่อนแล้ว ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอกว่าจะถูกสลัดทิ้งจากขบวน เกรงว่าผลลัพธ์คือกองทัพจะเหลือคนอยู่เพียง 1/10
หากเดินทางห้าสิบลี้ไปชิงชัยภูมิ กองที่นำหน้าอาจถูกตีพ่าย และผลสุดท้ายก็จะมีกองกำลังเพียงครึ่งเดียวที่เดินทางไปถึง
หากเดินทางสามสิบลี้ไปชิงชัยภูมิ กองทัพที่จะเดินทางไปถึงก็มีเพียง 2/3 เท่านั้น
ดังนั้น หากกองทัพไร้เสบียงก็จะแพ้พ่าย ไม่อาจคงอยู่ได้ ไม่มีสิ่งของสำรองก็จะไม่อาจทำสงครามได้นาน
ดังนั้น หากไม่เข้าใจแผนการของแคว้นอื่น ก็ห้ามเชื่อมสัมพันธ์ด้วยเด็ดขาด หากไม่ชำนาญภูมิประเทศ ว่าที่ใดเป็นป่าเขา ชัยภูมิอันตราย หรือแม่น้ำลำคลอง ก็ห้ามเดินทัพผ่านเด็ดขาด หากไม่ชำนาญภูมิประเทศ จะไม่มีทางได้เปรียบด้านชัยภูมิเด็ดขาด
การรบทัพจับศึกต้องพลิกแพลงร้อยเปลี่ยนพันแปรจึงจะสามารถคว้าชัยมาได้ เคลื่อนไหวกองทัพตามผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ไม่ว่าจะใช้วิธีแยกทัพหรือรวมทัพ ล้วนพลิกแพลงตามสถานการณ์
ยามกองทัพเร่งเคลื่อนไหว ประดุจลมพายุพัดถึงกาย
ยามกองทัพชะลอเชื่องช้า จักแน่นหนาดุจป่าทึบ
ยากบุกจู่โจมศัตรู ประดุจเปลวไฟเรืองโรจน์
ยามตั้งมั่นเฝ้ารักษา มั่นคงดั่งภูผา
ยามแฝงกายหลบเร้น ดุจฟ้าครึ้มฝนมิอาจมองเห็นสุริยันจันทราและดารา
ยามเคลื่อนไหว ดุจสายฟ้าหมื่นสายฟาดกระหน่ำ
ใช้การพูดบังคับบัญชาไม่ได้ จึงใช้กลองแทน ใช้กิริยาอาการบังคับบัญชาไม่กระจ่าง จึงใช้ธงแทน
กลอง และ ธงรบ จึงเป็นอุปกรณ์ในการใช้บังคับบัญชากองทัพที่สำคัญ
เมื่อการบังคับบัญชากองทัพเป็นไปอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เช่นนั้นทหารหาญจะไม่อาจบุกรุดหน้าไปโดยพลการเพียงลำพัง ทหารที่ขี้ขลาดก็จะไม่อาจแอบถอยไปเพียงลำพังได้ นี่แหละคือวิธีบังคับบัญชากองทหารที่มีทหารจำนวนมาก
ดังนั้น หากเป็นการรบในยามกลางคืน ให้พยายามใช้แสงไฟกับกลองรบบังคับบัญชา
หากเป็นการรบในยามกลางวัน ให้ใช้ธงรบในการบังคับบัญชา
การเปลี่ยนมาใช้กลองศึกและธงรบเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อให้ทหารสามารถมองเห็นและได้ยินการบังคับบัญชาได้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น
เราสามารถทำลายความฮึกเหิมของสามทัพศัตรูได้ เราสามารถทำลายความมั่นใจของแม่ทัพฝ่ายศัตรูได้
ยามแรกออกรบ ทหารจะฮึกเหิม เมื่อเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ทหารก็จะเริ่มเนือยลง เมื่อถึงช่วงสุดท้าย ทหารจะเริ่มหมดกำลังใจจะรบและอยากกลับบ้าน
ดังนั้น ผู้ชำนาญการศึกมักหลีกเลี่ยงการปะทะกับทหารที่กำลังฮึกเหิมของข้าศึก และรอจนกว่าทหารข้าศึกเริ่มเนือยจึงค่อยยกทัพไปตี นี่คือหลักในการยึดกุมกำลังใจรบของทหาร
เอาความเป็นระเบียบของตนไปปะทะกับความสับสนรวนเรของศัตรู ใช้ความสงบเยือกเย็นของฝ่ายตนเข้าปะทะกับความหวาดหวั่นของศัตรู นี่คือหลักในการยึดกุมจิตใจของทหาร
ใช้ประโยชน์จากการที่เราอยู่ใกล้สนามรบในขณะที่ศัตรูต้องเดินทางไกลมายังสนามรบ ใช้การรอคอย อย่างสงบเยือกเย็นและเตรียมพร้อมของเราไปปะทะกับการต้องเดินทางไกลจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าของศัตรู ใช้การที่เสบียงของฝ่ายเราเต็มเปี่ยมพร้อมมูลไปปะทะกับฝ่ายศัตรูที่เสบียงหมดสิ้นทหารอดอยากหิวโหย นี่คือหลักในการยึดกุมกำลังรบของทหาร
อย่าได้ไปปะทะกับศัตรูที่จัดกองทัพอย่างเป็นระเบียบ ตั้งทัพอย่างหนาแน่นรัดกุม อย่าได้ไปปะทะกับกองทัพที่สงบเยือกเย็นและมีกำลังพลรบมหาศาล นี่คือหลักการพลิกแพลงตามสภาพของศัตรู
บทที่ ๘ เก้าเปลี่ยนแปลง
อันวิธีการใช้ทหารนั้น แม่ทัพรับคำสั่งจากราชาเกณฑ์ทหารจัดเป็นกองทัพ
1. ห้ามหยุดตั้งทัพยังพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมถึง หรือยากจะเดินทางได้
2. เมื่อไปถึงกลางทางแยกที่จะสามารถทะลุทะลวงไปได้ทุกที่ ให้ผูกมิตรกับทุกแคว้น
3. ห้ามหยุดยั้งยังพื้นที่ซึ่งทุรกันดาร เดินทางลำบากทั้งไปหน้าและถอยหลัง
4. หากไปถึงพื้นที่ซึ่งจะถูกโอบล้อมได้ง่าย นั่นคือเข้าง่ายออกยาก ทำให้ศัตรูจำนวนหยิบมือสามารถเล่นงานเราได้สบายๆ จะต้องวางแผนให้ดีๆ
5. หากไปถึงทางตัน ซึ่งไม่อาจทำได้ทั้งไปหน้าและถอยหลัง ให้เสี่ยงสู้ถวายชีวิต
6. บางเส้นทางไม่ควรเดินผ่าน
7. บางกองทัพไม่ควรปะทะด้วย
8. มีบางเมืองไม่จำเป็นต้องบุกตียึดครอง มีบางที่ไม่จำเป็นต้องไปแย่งชิงผลประโยชน์ (ได้ไม่คุ้มเสีย ได้แล้วไม่อาจแบ่งทหารไปเฝ้าประจำ ก็ไม่ควรไปบุกตี)
9. คำสั่งบางอย่างของราชาไม่ต้องไปทำตามก็ได้ ในกรณีที่คำสั่งของราชานั้นจะขัดกับหลักแห่งความปลอดภัยของกองทัพ
ดังนั้นแม่ทัพที่ทราบข้อดีของ “เก้าเปลี่ยนแปลง” ย่อมเป็นแม่ทัพที่ใช้ทหารเป็น แม่ทัพซึ่งไม่ชำนาญการใช้ “เก้าเปลี่ยนแปลง” แม้จะเชี่ยวชาญภูมิประเทศ ก็ไม่อาจได้ประโยชน์จากการนั้น
แม่ทัพที่ชาญฉลาดนั้น ยามคิดถึงปัญหา จะต้องคิดถึงทั้งข้อดีและข้อเสีย คิดถึงความเป็นไปได้ที่เลวร้ายที่สุดในขณะที่กำลังได้เปรียบ สิ่งที่ทำจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและสามารถหลีกเลี่ยงเคราะห์ภัยได้
การจะทำให้ราชาแคว้นอื่นยอมสยบ จะต้องใช้สิ่งที่ราชาผู้นั้นหวาดกลัวที่สุดไปข่มขู่คุกคาม
การจะควบคุมบังคับราชาแคว้นอื่น ต้องใช้เรื่องซึ่งอันตรายอย่างยิ่งไปทำให้เขากังวล
การทำให้ราชาแคว้นอื่นยอมสยบ ต้องใช้ผลประโยชน์เข้าล่อ
ดังนั้น หลักการใช้ทหาร อย่าตั้งความหวังว่าศัตรูจะไม่มา แต่ต้องพึ่งการตั้งรับอย่างแข็งแกร่งของฝ่ายตน เตรียมตัวให้พร้อมสรรพ
อย่าตั้งความหวังว่าศัตรูจะไม่บุก แต่ต้องพึ่งตัวเองโดยพยายามทำให้ศัตรูไม่อาจทำลายเราได้
ขุนพลทั้งหลายมักมีจุดอ่อนดังนี้
1. ห้าวหาญแต่ไร้แผนการ รู้จักแต่สู้เสี่ยงชีวิต จึงมีโอกาสถูกศัตรูล่อลวงไปฆ่าสูง
2. ถึงเวลาต้องรบจริงแล้วนึกขลาดเขลาขึ้นมา รักตัวกลัวตาย จึงมีโอกาสถูกศัตรูจับเป็นเชลยสูง
3. ใจร้อนขี้โมโห กระตุ้นหน่อยก็เดือดดาล จะถูกศัตรูยั่วแหย่ให้โกรธจนลืมตัว เคลื่อนทัพโดยประมาท
4. นิยมชื่อเสียงเกียรติยศ ยกย่องตัวเองเสียสูงส่ง อาจจะถูกศัตรูใช้วิธีเหยียดหยามดูแคลนจนรู้สึกต่ำต้อยด้อยปัญญาจนไหวพริบเสื่อมสูญได้
5. รักชาวเมืองเกินไป จะถูกศัตรูใช้ประโยชน์ทำให้ไม่อาจรบได้เต็มกำลังจนต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและถูกควบคุม
5 ข้อข้างต้นเป็นข้อผิดพลาดสิ่งซึ่งแม่ทัพมักถลำตัวกระทำได้โดยง่าย เป็นความหายนะในการใช้ทหาร การล่มสลายของกองทัพ แม่ทัพถูกฆ่า ล้วนมีสาเหตุมาจาก 5 ข้อนี้ทั้งสิ้น นี่จึงเป็นสิ่งที่ผู้เป็นแม่ทัพมิอาจไม่ระวัง
บทที่ ๙ การเดินทัพ
ในการเดินทัพและจับตาดูข้าศึก ควรระวังดังต่อไปนี้
เมื่อเดินทัพผ่านพื้นที่ภูเขา
1. ให้เดินเลาะไปตามหุบเขาซึ้งมีหญ้าน้ำอุดมสมบูรณ์
2. ยามหยุดตั้งทัพ ต้องเลือก “ที่เป็น” คือ มีทางหนีทีไล่สะดวก และตั้งค่ายพักในที่สูง หันหน้าไปทางทิศใต้
3. หากศัตรูยึดที่สูงได้ ห้ามไปปะทะด้วยเด็ดขาด
หากต้องข้ามแม่น้ำ
1. ต้องตั้งค่ายพักในจุดที่ห่างจากแม่น้ำพอสมควร
2. หากทัพศัตรูยกข้ามแม่น้ำมาจู่โจม อย่าปะทะกันในน้ำ ให้ฉวยโอกาสจู่โจมขณะที่ทัพศัตรุส่วนหนึ่งข้ามแม่น้ำมาแล้วจะได้ผลที่สุด
3. หากต้องปะทะกับทัพศัตรู อย่าปะทะกันใกล้ๆ แม่น้ำ
4. ขณะตั้งค่ายพักหรือจัดทัพใกล้แม่น้ำ ก็อย่าตั้งอยู่ทางใต้น้ำของศัตรู
หลักการเดินทัพผ่านพื้นที่ดินเค็มหรือน้ำท่วมถึงมีหนองบึง
หากผ่านพื้นที่ดินเค็มหรือน้ำท่วมถึงมีหนองบึง ต้องรีบผละห่างโดยเร็ว ห้ามหยุดพักตั้งค่ายเด็ดขาด
หากปะทะกับศัตรูในพื้นที่ดินเค็มหรือมีหนองบึงน้ำท่วมถึง ให้ยึดพื้นที่ซึ่งมีหญ้าน้ำและติดป่าไม้
การตั้งทัพยังทุ่งราบ
ต้องเลือกที่ราบเรียบ จะให้ดีด้านหลังควรอิงเขาสูง ให้ด้านหน้าลาดลงต่ำ ด้านหลังเป็นภูสูง
ตามธรรมดาแล้ว การตั้งทัพมักนิยมตั้งในที่สูง รังเกียจการตั้งทัพในที่ต่ำ เน้นการหันหน้าไปทางทิศใต้ หลีกเลี่ยงการหันหน้าไปทางทิศเหนือ และตั้งค่ายพักในที่ซึ่งสะดวกแก่การหาปัจจัยดำรงชีวิต เช่นนี้ทหารทั้งหลายจะได้ไม่เจ็บป่วย นี่คือหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ชนะสงคราม
การตั้งทัพยังเนินสูง หรือเขื่อนตลิ่ง ต้องหันหน้าไปทางทิศใต้ ทั้งยังต้องหันหลังให้ยอดเนิน ปัจจัยอันเป็นประโยชน์ต่อทหารเหล่านี้นั้นได้มาจากการช่วยเหลือของชัยภูมิ
หากต้นแม่น้ำมีฝนตกหนัก มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ให้รอจนสายน้ำสงบนิ่งค่อยข้ามเพื่อป้องกันน้ำป่าไหลบ่า
หากพบพื้นที่เหล่านี้
สองฟากแม่น้ำเป็นหน้าผาสูงชัน
บ่อสวรรค์ รอบด้านล้วนเป็นผาสูง ตรงกลางเป็นที่ต่ำ
คุกสวรรค์ รอบด้านมีแต่เส้นทางอันตราย เข้าง่ายออกยาก
ตาข่ายฟ้า คือพื้นที่เต็มไปด้วยพุ่มหนาม ยากจะผ่านไปได้
กับดักฟ้า พื้นที่ชื้นแฉะเป็นบ่อโคลน
ช่องว่างแห่งฟ้า คือพื้นที่ผาสูงชันขนาบหุบผาเล็กแคบไว้ตรงกลาง หรือ ทางที่เว้าลึกลงไปหลายฉื่อ กว้างหลายจ้าง
จะต้องรีบผ่านไปโดยเร็วและห้ามเข้าไปใกล้ เราหลีกหนีห่างจากมัน ให้ศัตรูเข้าไปใกล้มัน
เราเผชิญหน้ากับชัยภูมิเหล่นี้ โดยให้ศัตรูหันหลังให้ชัยภูมิเหล่านี้
หากกองทัพต้องเดินผ่านภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขาและแม่น้ำที่เปี่ยมอันตราย พื้นที่ต่ำมีพุ่มหนามงอกเต็ม และป่าทึบ จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะพื้นที่เหล่านี้จะเป็นที่ซ่อนตัวสำหรับซุ่มจู่โจมและเป็นที่ซ่อนตัวของไส้ศึกได้ง่ายมาก
ทหารข้าศึกที่อยู่ห่างจากเราไม่มากแต่ยังคงรักษาความสงบเยือกเย็นอยู่ได้ เป็นเพราะถือดีว่าอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบ
หากทหารข้าศึกมาท้าทายเราทั้งที่ยังอยู่ห่างไกล แสดงว่าต้องการล่อเราให้เข้าไปใกล้
การที่ศัตรูไม่ยอมยึดชัยภูมิมีเปรียบแต่กลับยึดชัยภูมิราบเรียบธรรมดา แสดงว่ามีจุดประสงค์จะใช้ประโยชน์จากการนั้นโดยเฉพาะ
หากในป่ามีต้นไม้หลายต้นขยับไหว แสดงว่าศัตรูวางกำลังหมายซุ่มโจมตีเรา
หากในกอหญ้าพุ่มไม้จัดวางสิ่งของบังตา แสดงว่าศัตรูใช้กลลวงหมายตบตาเรา
การที่อยู่ๆ นกก็บินหนีขึ้นฟ้า แสดงว่าตรงนั้นมีทหารซุ่มอยู่
การที่สัตว์ป่าวิ่งหนีอย่างตื่นตระหนก แสดงว่ากองทัพใหญ่ของข้าศึกบุกมาจู่โจม
หากฝุ่นลอยสูงและแหลม แสดงว่ารถศึกของข้าศึกกำลังมุ่งตรงมายังเรา
หากฝุ่นลอยต่ำและแผ่กว้าง แสดงว่าทัพเดินเท้าของข้าศึกกำลังเดินมุ่งหน้ามายังเรา
หากฝุ่นกระจัดกระจาย เล็กเรียว และยาว แสดงว่าข้าศึกกำลังตัดฟืน
หากฝุ่นน้อยและเดียวสูงเดี๋ยวต่ำ แสดงว่าข้าศึกกำลังตรวจสอบพื้นที่ ตระเตรียมตั้งค่าย
หากทูตของศัตรูเอ่ยวาจานอบน้อมถ่อมตน ขณะที่ประเทศเขากำลังเร่งเตรียมการรบ แสดงว่าคิดจะมาบุกเรา
หากทูตของศัตรูพูดจาแข็งกร้าว ทั้งยังยกทัพมาประชิดคุกคาม แสดงว่าเตรียมจะถอย
หากรถศึกของข้าศึกออกนำและยึดครองปีกซ้ายขวา แสดงว่ากำลังจัดตั้งขบวนทัพเตรียมรบ
หากอยู่ๆ ข้าศึกก็มาขอเจรจาสงบศึกโดยไร้วี่แววมาก่อน แสดงว่ามีแผนร้ายซ่อนเร้น ฝ่ายข้าศึกจัดตั้งขบวนรถศึกแล่นเข้าหาเราอย่างรวดเร็ว แสดงว่ารอจะปะทะกับเราอยู่
ทัพข้าศึกครึ่งรุดหน้าครึ่งถอยหลัง อาจจะเป็นเพราะต้องการจะลวงให้เราสับสนคาดเดาไม่ถูกและเกิดการรวนเร
หากทหารข้าศึกเอาอาวุธออกยันพื้นเพื่อค้ำตัว แสดงว่าอดอยากหิวโหยเพราะขาดเสบียง
หากทหารข้าศึกตักน้ำจากบ่อแล้วรีบร้อนจะดื่มก่อน แสดงว่าทกองทัพกำลังขาดน้ำ
ศัตรูเห็นผลประโยชน์ให้ฉกฉวยแต่กลับไม่รุดเข้าแย่งชิง แสดงว่าอ่อนเพลียจัด
หากค่ายพักของศัตรูมีนกบินไปเกาะรวมฝูง แสดงว่าค่ายพักนั้นว่างเปล่า
หากในค่ายพักศัตรูมีเสียงกรีดร้องในยามราตรี แสดงว่าทหารข้าศึกกำลังกดดันและหวาดกลัว
ค่ายทัพศัตรูกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ แสดงว่าแม่ทัพของศัตรูคุมทัพไม่เข้มงวด
หากธงรบของค่ายทัพศัตรูโบกสะบัดไม่เป็นจังหวะ แสดงว่าขบวนทัพของศัตรูกำลังสับสนรวนเร
หากขุนนางของข้าศึกหงุดหงิดใจร้อนขี้โมโห แสดงว่ากองทัพของศัตรูอดหลับอดนอนมาหลายวันเกินไป
หากศัตรูใช้เสบียงอาหารป้อนม้า ฆ่าสิ่งมีชีวิตกิน เก็บอุปกรณ์หุงต้ม และไม่กลับไปยังค่ายพักอีก แสดงว่า “ปล้นเพราะจนตรอก”
หากทัพศัตรูจับกลุ่มรวมกันสุมหัวนินทาวิพากษ์วิจารณ์ แสดงว่าแม่ทัพคนนั้นไม่เป็นที่รักใคร่นิยมของพลทหาร
การที่ทัพศัตรูปูนบำเหน็จแก่ทหารบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
หากทัพข้าศึกสั่งลงโทษพลทหารในกองทัพบ่อยๆ แสดงว่ากำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน
แม่ทัพที่ทำตัวโหดร้ายกับผู้ใต้บังคับบัญชา จากนั้นก็กลับกลัวผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงว่าไม่ฉลาดอย่างมาก
ข้าศึกอาศัยข้ออ้างส่งทูตมาเจรจา แสดงว่าต้องการจะสงบศึก
หากทัพข้าศึกบุกมาอย่างดุร้ายฮึกเหิม แต่กลับไม่ลงมือเสียที ทั้งยังไม่ยกทัพกลับไป จะต้องคะเนแผนการของเขาอย่างระมัดระวังรอบคอบ
สงครามใช่ว่าจำนวนทหารยิ่งมากยิ่งดี ขอเพียงไม่ดูถูกศัตรูบุกเข้าหาโดยประมาท และรวมกำลังเป็นหนึ่งเดียว คาดคะเนความเคลื่อนไหวของศัตรูให้แม่นยำ ก็เพียงพอที่จะชนะศึกแล้ว ผู้ซึ่งไร้แผนการ ไม่มองการณ์ไกล ทั้งยังประมาทศัตรู จะต้องถูกศัตรูจับเป็นเชลยอย่างแน่นอน
หากแม่ทัพสั่งลงโทษทหารในขณะที่ทหารยังไม่สนิทและไว้วางใจแม่ทัพ ทหารผู้นั้นจะต้องไม่ยอมรับนับถือ เช่นนี้ก็จะยากที่จะใช้ให้ทหารผู้นั้นไปรบได้
หากทหารสนิทสนมและยอมรับในความสามารถของแม่ทัพแล้ว ยังไม่ยอมใช้ระเบียบทัพจัดการอีก กองทัพเช่นนี้ก็ไม่อาจทำสงครามได้เช่นกัน
ดังนั้นต้องใช้หลักในการปกครองสั่งสอนทหาร ใช้ระเบียบทัพมาทำให้ความเคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียว กองทัพเช่นนี้จึงจะสามารถชนะศึกได้
แม่ทัพที่ยามปกติจะทำตัวตามระเบียบทัพและสั่งสอนทหารในสังกัดอย่างสม่ำเสมอ ทหารก็จะยอมรับนับถือ
แม่ทัพที่ยามปกติไม่ทำตัวตามระเบียบทัพและไม่สั่งสอนทหารในสังกัด ทหารก็จะไม่ยอมรับนับถือ
ดังนั้น การทำตามระเบียบทัพอย่างเข้มงวด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แม่ทัพและลูกทัพให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
บทที่ ๑๐ ชัยภูมิ
ชัยภูมิแบ่งเป็น ปลอด , ขวาง , ยัน , ปากขวด , ผาชัน , ห่าง
1. ที่ซึ่งเราไปได้ ข้าศึกก็มาได้ เรียกว่า “ปลอด” ชัยภูมิเช่นนี้ เราต้องชิงตำแหน่งซึ่งอยู่ในที่สูงและหันหน้าไปทางทิศเหนือ จากนั้นทำให้เส้นทางขนส่งเสบียงเป็นไปอย่างสะดวกปลอดโปร่ง เช่นนี้ยามชิงชัยกับข้าศึกจึงจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเรา
2. ชัยภูมิซึ่งเส้นทางมีอุปสรรค เข้าไปได้แต่ยากจะถอยกลับได้ เรียกว่า “ขวาง” หากทัพศัตรูไร้การป้องกัน ให้จู่โจมทันทีจะประสบชัย แต่หากศัตรูมีการป้องกันแล้วเราไปจู่จม เราจะไม่อาจเอาชัยได้ เราก็ยากจะถอยได้ จะเป็นผลเสียต่อฝ่ายเรา
3. ชัยภูมิซึ่งทั้งฝ่ายเราและฝ่ายศัตรู ใครลงมือก่อนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เรียกว่า “ยัน” ในชัยภูมิเช่นนี้ ต่อให้ศัตรูพยายามล่อลวงเราอย่างไรก็ห้ามเป็นฝ่ายจู่โจมก่อนเด็ดขาด ทางที่ดีให้แสร้งทำเป็นจะถอยทัพเพื่อล่อให้ศัตรูบุกเข้ามาครึ่งหนึ่ง จากนั้นฝ่ายเราจู่โจมอย่างกะทันหัน จึงจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเรา
4. ชัยภูมิ “ปากขวด” ซึ่งมีทางออกคับแคบ หากเรายึดชัยภูมิได้ก่อน ให้ส่งทหารจำนวนมากอุดจุดซึ่งเป็นปากขวด แต่หากศัตรูยึดจุดที่เป็นปากขวดได้ก่อน ก็อย่าไปจู่โจม หากจุดปากขวดนั้นมีทหารศัตรูเฝ้าอยู่ไม่มาก ให้รีบจู่โจมยึดให้ได้ทันที
5. ชัยภูมิ “ผาชัน” หากเราเข้ายึดได้ก่อนศัตรู ให้ยึดที่สูงหันหน้าไปทางใต้แล้วตั้งค่ายรอจู่โจมข้าศึก หากข้าศึกยึดได้ก่อน ก็ให้ถอยเสีย อย่าไปจู่โจม
6. ในชัยภูมิ “ห่าง” ซึ่งทั้งฝ่ายเราและศัตรูอยู่ห่างกันค่อนข้างมาก กำลังของฝ่ายเราและศัตรูพอๆ กัน ไม่ควรจะไปท้าทาย ฝืนใจรบ จะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายเรา
6 ข้อข้างต้น คือหลักในการใช้ประโยชน์จากชัยภูมิ และเป็นความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งของแม่ทัพ จึงมิอาจไม่พิจารณาอย่างจริงจัง
สภาพการพ่ายแพ้ของกองทัพมี หนี , ขาดระเบียบ , ขาดการฝึกฝน , แตกพ่าย , สับสน , พ่ายยับ
6 ประเภทนี้ล้วนมิได้เกิดจากภัยธรรมชาติทั้งสิ้น แต่เกิดจากความผิดพลาดของแม่ทัพ
1. ในสภาพการณ์ที่ปัจจัยต่างๆ ของฝ่ายเรากับฝ่ายศัตรูมีพอๆ กัน หากไปจู่โจมศัตรูที่มีจำนวนมากกว่าเราสิบเท่าแล้วแพ้ เรียกว่า “หนี”
2. เหตุแห่งการแพ้อันเกิดจากทหารฮึกเหิม แม่ทัพขลาดเขลา เรียกว่า “ขาดระเบียบ”
3. เหตุแห่งการแพ้อันเกิดจากแม่ทัพเก่งกล้าสามารถ แต่ทหารขลาดเขลาอ่อนแอ เรียกว่า “ขาดการฝึกฝน”
4. การพ่ายแพ้อันเกิดจากการที่ พลทหารเดือดดาลไม่เชื่อฟังคำสั่ง เจอกับศัตรูก็บุกเข้าปะทะโดยพลการ ทั้งแม่ทัพเองก็ไม่กระจ่างในความสามารถของลูกทัพแล้วยังไปควบคุมบังคับมากเกินไปจนกองทัพไม่อาจเปล่งประสิทธิภาพได้ เรียกว่า “แตกพ่าย”
5. เหตุแห่งการพ่ายแพ้อันเกิดจากแม่ทัพขลาดเขลาอ่อนแอและขาดพระเดช การฝึกฝนอบรมลูกทัพก็เป็นไปอย่างไม่กระจ่างชัดเจน ทำให้ลูกทัพปฏิบัติตามไม่ถูก การจัดขบวนทัพสับสนไม่เป็นระเบียบ เรียกว่า “สับสน"
6. เหตุแห่งความพ่ายแพ้อันเกิดจากแม่ทัพไม่อาจหยั่งคาดศัตรูได้อย่างถูกต้อง ใช้กำลังน้อยเข้าตีกำลังมาก ทั้งยังไม่มีทหารที่เข็มแข็งเป็นแกนหลัก เรียกว่า “พ่ายยับ”
ชัยภูมิคือสิ่งที่มีส่วนช่วยในการทำศึก หากสามารถคาดคะเนสถานภาพของศัตรูได้อย่างแม่นยำ จากนั้นวางแผนพิชิตชัย ศึกษาสภาพชัยภูมิอย่างละเอียด คำนวณระยะทาง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่แม่ทัพพึงกระทำ
หากแม่ทัพเข้าใจสิ่งเหล่านี้และสามารถนำมาใช้ในการรบได้ จะต้องชนะอย่างแน่นอน แม่ทัพที่ไม่เข้าใจหลักการเหล่านี้อันทำให้ไม่อาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะต้องพ่ายแพ้
ดังนั้น หากคาดคำนวณทุกปัจจัยในสมรภูมิโดยละเอียดแล้วมีความมั่นใจว่าสามารถเอาชนะได้ ต่อให้ราชามีคำสั่งว่าห้ามรบ ก็สามารถยืนกรานจะรบได้ หากคาดคำนวณทุกปัจจัยในสมรภูมิโดยละเอียดแล้วมั่นใจว่าไม่อาจเอาชนะได้แน่ ต่อให้ราชาสั่งให้รบ ก็อย่ารบ
ในฐานะที่เป็นแม่ทัพ ควรไม่ละโมบชื่อเสียงเกียรติยศจากชัยชนะ และไม่หวั่นเกรงภัยจากอาญาเมื่อพ่ายศึก คิดหวังเพียงให้กองทัพและประชาสามารถอยู่รอดปลอดภัย อันจะสอดคล้องต่อผลประโยชน์หลักของราชา แม่ทัพเช่นนี้จึงจะนับว่าเป็นแม่ทัพอันมีค่าของประเทศ
หากแม่ทัพรักปรานีลูกทัพประดุจบุตรรัก ลูกทัพจะยินดีร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพถึงที่สุด แต่หากแม่ทัพปรานีต่อลูกทัพจนถึงขั้นไม่ยอมลงโทษตามระเบียบทัพ ทำให้ลูกน้องไม่เชื่อฟังคำสั่ง ก็เหมือนเลี้ยงลูกให้เสียคน กองทัพเช่นนี้ก็จะไร้ประโยชน์เช่นกัน
รู้แต่ว่าฝ่ายเรามีความสามารถบุกได้โดยไม่เข้าใจว่าสภาพศัตรูในตอนนั้นยังไม่ควรบุก ความเป็นไปได้ที่จะชนะจะมีเพียงครึ่งเดียว
รู้แต่ว่าเราเข้าจู่โจมฝ่ายศัตรูในตอนนี้ได้ แต่ไม่รับรู้ว่าเราในตอนนี้ไม่มีความพร้อมพอจะไปจู่โจมศัตรูได้ ความเป็นไปได้ที่จะชนะก็มีเพียงครึ่งเดียว
ทำความเข้าใจกระจ่างว่าศัตรูในตอนนี้กำลังเหมาะที่เราจะจู่โจม และรู้ว่าความพร้อมของเราในตอนนี้เหมาะจะจู่โจมศัตรู แต่ไม่เข้าใจว่าสภาพชัยภูมิในตอนนั้นไม่เหมาะจะจู่โจมศัตรู ความเป้นไปได้ที่จะชนะก็ยังคงมีเพียงครึ่งเดียวเช่นกัน
ดังนั้น แม่ทัพที่เข้าใจการใช้ทหารอย่างถ่องแท้นั้น ยามเคลื่อนไหวต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แผนการที่ใช้มีการพลิกแพลงได้ไม่สิ้นสุดโดยไม่ยึดตายตัวตามตำราใดๆ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
รู้เขารู้เรา ย่อมชนะ
รู้เวลา รู้ชัยภูมิ ย่อมชนะ
บทที่ ๑๑ เก้าชัยภูมิ
ตามหลักการใช้ทหาร สมรภูมิสามารถแบ่งได้เป็น 9 ชนิด ได้แก่ ที่แบ่ง , ที่เบา , ที่ชิง , ที่ต่อ , ที่เชื่อม , ที่หนัก , ที่ลุ่ม , ที่ล้อม , ที่ตาย
1. หากราชารบกับศัตรูบนดินแดนของตนเอง อันจะทำให้ทหารเป็นห่วงบ้าน จิตใจถูกแบ่งแยก เรียกดินแดนเช่นนี้ว่า “ที่แบ่ง”
2. สมรภูมิที่ล้ำเข้าไปในแดนศัตรูไม่มาก เรียกว่า “ที่เบา”
3. พื้นที่ซึ่งหากเรายึดได้ก่อนจะมีเปรียบแก่เรา หากศัตรูยึดได้ก่อนจะมีเปรียบแก่ศัตรู เรียกว่า “ที่ชิง”
4. พื้นที่ซึ่งทัพเราไปได้ ทัพศัตรูก็มาได้ เรียกว่า“ที่ต่อ”
5. จุดซึ่งแดนเราและแดนศัตรูเชื่อมต่อกับดินแดนอื่น หากใครยึดได้ก่อนก็จะสามารถส่งทูตไปเชื่อมสัมพันธ์กับแดนที่สามให้เกิดพันธมิตรได้ เรียกว่า “ที่เชื่อม”
6. ที่ซึ่งบุกลึกเข้าไปในแดนศัตรูและผ่านเมืองของศัตรูจำนวนมาก เรียกว่า “ที่หนัก”
7. พื้นที่ป่าเขา ภูมิประเทศเปี่ยมอันตราย มีหนองบึงทอดขวางจนยากแก่การสัญจรผ่านได้ เรียกว่า “ที่ลุ่ม”
8. ที่ซึ่งทางเข้าคับแคบ ทางออกคดเคี้ยววกวนและยาวไกล ศัตรูสามารถใช้กองกำลังเพียงหยิบมือพิชิตกองกำลังจำนวนมากของเราได้ เรียกว่า “ที่ล้อม”
9. พื้นที่ซึ่งหากใช้วิธีบุกจู่โจมแบสายฟ้าแลบจะสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ หากไม่จู่โจมแบบสายฟ้าแลบจะถูกพิชิตล่มสลาย เรียกว่า “ที่ตาย” (ทางตัน)
ดังนั้น
ที่แบ่ง ไม่ควรรบ
ที่เบา ไม่ควรหยุดแวะพัก
พบ ที่ชิง ต้องชิงยึดก่อนศัตรูให้ได้ หากศัตรูยึดได้ก่อน อย่าฝืนบุก
ถึง ที่ต่อ แต่ละกลุ่มกองรวมตัวกันให้แน่นหนา เพื่อป้องกันศัตรูจู่โจมตัดแยกกองทัพเป็นส่วนๆ
ถึง ที่เชื่อม ต้องเชื่อมไมตรีกับแคว้นเพื่อนบ้าน
ถึง ที่หนัก ต้องรีบชิงปัจจัยจำเป็นต่างๆเพื่อเสริมให้กองทัพฝ่ายเรา
ใน ที่ลุ่ม ควรรีบผ่านไปโดยเร็ว
ใน ที่ล้อม ควรใช้แผนการอันเลิศล้ำรับมือ
ใน ที่ตาย ควรดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อความอยู่รอด
ในอดีต ผู้เชี่ยวชาญการใช้ทหารนั้น สามารถทำให้หัวท้ายทัพศัตรูไม่อาจคำนึงถึงกันได้ กองใหญ่และกองย่อยไม่อาจหนุนเสริมพึงพากันและกันได้ แม่ทัพไม่อาจช่วยเหลืออะไรได้ แม่ทัพกับลูกทัพถูกตัดขาดกันโดยสิ้นเชิงโดยไม่อาจกอบ***้ ทหารแตกพ่ายโดยไม่อาจรวมตัวติด แม้จะรวมตัวติดได้ในที่สุดก็ไม่เป็นระเบียบ หากรู้ว่าตั้งประจันต่อไปจะได้ประโยชน์ก็จะตั้งประจันต่อไป หากรู้ว่าไร้ประโยชน์ก็จะหยุด
ขอถาม “หากกองทัพศัตรูมากมายมหาศาลทั้งยังจัดตั้งขบวนทัพอย่างเป็นระเบียบบุกเข้าหาเรา เราควรจะทำอย่างไร?”
คำตอบคือ “ให้ชิงตีจุดสำคัญของศัตรู เช่นนี้ศัตรูก็จะถูกบังคับให้เคลื่อนขบวนตามการควบคุมของเรา
หลักการใช้ทหาร เน้นหนักที่รวดเร็วเลิศล้ำ ฉวยโอกาสที่ศัตรูยังไม่ทันลงมือ เดินในเส้นทางที่ศัตรูหยั่งคาดไม่ถึง จู่โจมจุดที่ศัตรูไม่ทันระวัง
หลักในการบุกเข้ารบในดินแดนของศัตรู
หากบุกลึกเข้าแดนศัตรูมาก กำลังใจทหารจะรวมเป็นหนึ่ง ทัพศัตรูจะไม่อาจเอาชัยเราได้
แย่งชิงเสบียงในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ หยุดพักสามทัพเพื่อบำรุงกำลัง
บำรุงเลี้ยงดูทหารอย่างดี อย่าให้ต้องเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย จากนั้นกระตุ้นความฮึกเหิม สะสมพละกำลังไว้
ใช้ทหารอย่างมีเหตุผล วางแผนรบอย่างล้ำเลิศ ให้ศัตรูมิอาจสืบทราบได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น